พิธีเปิด Change & Collaboration for Sustainability และปาฐกถาพิเศษ Learning key for sustainability

0
4837
Change and Collaboration for Sustainability

บทความนี้ถอดมาจาก 2 session : พิธีเปิดโดย นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี (ผอ.สรพ)  และปาฐกถาพิเศษ Learning key for sustainability โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

Change: สิ่งที่ทุกองค์กรจะต้องเผชิญ คือการดำเนินงานอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบ VUCA* คือ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การขาดองค์ความรู้ ความซับซ้อนของการดำเนินงาน สภาวะแวดล้อมที่มีความคลุมเครือ การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นความท้าทายที่ต้องเรียนรู้เพื่อให้เท่าทันเหตุการณ์

จริตของการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการพัฒนา คือ Growth mindset เชื่อในการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง หรือ Transformative learning เกิดเมื่อสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความอึดอัด ขัดข้อง ส่งเสริมให้เกิดการท้าทายระบบโลกทัศน์ พลังทั้ง 6 ในการเกิด Transformative learning ประกอบไปด้วย ประสบการณ์ตรงของปัจเจก การไตร่ตรองสะท้อนคิด สุนทรียสนทนา มองแบบองค์รวม คำนึงถึงบริบท และความสัมพันธ์ที่จริงใจ ทำให้เปลี่ยนระบบคุณค่าและโลกทัศน์ การเรียนรู้เกิดขึ้นควรเป็นแบบ Double loop learning ที่คำนึงถึง Goal strategy และ Result ซึ่งเทียบได้กับหลักคิดเชิงคุณภาพ Purpose process และ Performance และ เรียนรู้แแบบ Open loop learning จากความท้าทาย และการตั้งคำถาม เปรียบเทียบกับมาตรฐานภายนอก จึงจะเกิดการเรียนรู้แบบยั่งยืน

Collaboration การทำงานร่วมกันแบบร่วมมือร่วมใจ อาศัยพื้นฐานความไว้วางใจ (Trust) ที่คนในองค์กรมีให้ต่อกัน เป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรคุณภาพ ร่วมกันเรียนรู้ความแตกต่างของบุคลากร และหน่วยงานในองค์กร สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งสองทาง (Two-way Communication) โดยนำองค์ความรู้จากภายนอกมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง และสะท้อนผลของการปฏิบัติจากการทำ Group refelction เรียนรู้จากความเห็นต่างของทีม เรียนรู้เกี่ยวกับงาน ปฏิสัมพันธ์ Empathy เรียนรู้ตนเอง และเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม เพื่อการพัฒนาตามวงล้อคุณภาพร่วมกัน เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนขององค์กร

Learning Key for Sustainability

Sustainability หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน จะต้องมองถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืนเกิดจากการทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย การพัฒนา เพื่อคุณค่า/เป้าหมายสูงส่ง อย่างต่อเนื่องเป็นวงจรคุณภาพด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตีความเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้ดีกว่า ยกระดับต่อเนื่อง ทำจนเป็นวัฒนธรรม และเรียนรู้กระบวนการสร้างความสุข

การเปลี่ยนแปลงจากความท้าทาย เกิดจากการเรียนรู้แบบ Collective learning/ open learning loop/ double-loop learning/ transformative learning ด้วยการร่วมมือหน่วยงานอื่น โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานเป็นแหล่งความรู้และ มีพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน เช่น national HA Forum

“เรียนรู้จากความเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

“เพื่อการเรียนรู้ต้องขี่เกณฑ์มาตรฐาน ไม่ใช่ให้เกณฑ์มาตรฐานขี่”

“การทำงาน การเรียนรู้และการปฏิบัติ ต้องเน้นที่ตัวเราและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น”

“องค์กรที่ขาดความคิดเห็นต่าง องค์กรนั้นขาดการเรียนรู้ที่ดี”

หากสนใจว่า VUCA wolrd คืออะไร ติดตามได้ที่ HA update 2019 ตอนที่ 1

*https://www.forumhai.com/download/10714/O?file_name=HA+Update+2019_fn.pdf

ติดตามศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

https://www.gotoknow.org/user/vicharnpanich/posts

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here