มองระบบสุขภาพ ว่าด้วย การถ่ายโอน รพสต. สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

0
3203

มองระบบสุขภาพ ว่าด้วย การถ่ายโอน รพสต. สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การถ่ายโอน รพ.สต. สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเส้นทางของการพัฒนาที่พึงมี เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ และมีสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 รพ.สต. ประมาณ 3,000 แห่งจะต้องถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้ เป็นความท้าทายในการรวมพลังและเชื่อมโยงด้วยแนวคิด Co-Creation นําไปสู่ New Design for New Partnership ภายใต้เงื่อนไขด้านการจัดการวัฒนธรรมและความห่วงกังวลของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติงานทั้งใน รพ.สต. และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ความกังวลในการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร สายบังคับบัญชา การติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงาน หรือความห่วงกังวลในด้านวิชาการ จนไปถึงความห่วงกังวลในระบบงานเชื่อมโยงต่างๆ อาทิเช่น ระบบเครือข่ายการรักษาพยาบาล กระบวนการในการจัดการภาวะวิกฤติ ความเชื่อมโยงด้านวิชาการ และการปรับบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข

ด้วยบริบทที่หลากหลายของแต่ละพื้นที่ การนำแนวคิด Chaordic management plus ที่เริ่มจากการสร้างเป้าหมายร่วมกันในแต่ละภาคส่วน ทั้งความท้าทาย หรือสิ่งที่ต้องจัดการ ต้องก้าวข้าม โดยที่ความคาดหวังของภาคส่วนต่างๆ ไม่ตกหล่นหายไปในการบรรลุเป้าหมายร่วม การใช้หลักการร่วม การมีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการ ดำเนินการ ติดตาม/สะท้อน เรียนรู้ เพื่อนำกลับมาออกแบบระบบใหม่ร่วมกัน (DALI) ประกอบกับการนำแนวคิด Adaptive challenges มาดำเนินการ เพราะการแก้โจทย์ยาก ซับซ้อน ทำตามความรู้เท่าที่มี ทำได้ยาก ต้องทำแบบหาคำตอบไปด้วยกัน เพราะเราไม่มีทางรู้คำตอบ หรือวิธีที่ดีที่สุด

สุดท้ายแล้ว พื้นที่จะเป็นผู้กำหนดอนาคตที่แท้จริงของการกระจายอำนาจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานระดับนโยบายและมีภาคีเครือข่ายร่วมเสริมพลังการเรียนรู้และการทำงาน ร่วมกัน สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เสริมพลังให้ รพ.สต. สามารถจัดบริการ อันเป็นที่ยอมรับและยกระดับศักยภาพในระบบสุขภาพอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ ยั่งยืน ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น เพื่อให้การกระจายอำนาจเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here