Practical point of Value Based Healthcare in Role of Nurse to Improving Health and Life Expectancy to Greater than 85 Years old.

0
95
Practical point of Value Based Healthcare in Role of Nurse to Improving Health and Life Expectancy to Greater than 85 Years old.

Value Based Healthcare
ที่มีคุณค่ามากกว่าต้นทุนทางธุรกิจ คือ
รูปธรรมของการนำความต้องการที่แท้จริง
ของผู้ป่วย/ ครอบครัว กำหนดเป็นเป้าหมายร่วม
สร้างความร่วมมือเป็นไปตามมาตรฐานของทีม
สหสาขาวิชาชีพ มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดี
อย่างแท้จริง

การนำหลักคิด Value Based Healthcare (VBHC) มาใช้เพื่อให้มีบริการสุขภาพ เน้นคุณค่าในมุมมองของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ เกิดโครงการ Mission to the Moon เป้าหมาย เพื่อให้ผู้รับบริการมีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาวมากกว่า 85 ปี ด้วยการกำหนดโครงสร้างองค์กร Integrated Patient Units: IPUs To Center of Excellence: Heart, Neuro ที่มีการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติโดยใช้ Care cycle model เพื่อให้เกิด customer experience excellence ด้วยเพิ่มมุมมองของผู้ป่วย/ ผู้รับบริการ และ Better Health Outcome ที่เห็นบทบาทของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พัฒนา สนับสนุน Nurse Coordinator ให้มีมุมมองและทักษะ ความรู้เฉพาะโรค เป็นผู้เชื่อมประสาน/ ขับเคลื่อนการดูแลทางคลินิก ด้วยการให้ความรู้ในการป้องกันโรค การคัดกรองเบื้องต้นในผู้ป่วยที่ยังไม่เกิดโรค และดูแลผู้ป่วยที่เกิดโรคให้ได้รับการดูแล ฟื้นฟู มีสุขภาพที่แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และการติดตามวัดผลลัพธ์ที่รายงานโดยผู้ป่วย (Patient Reported Outcome Measures) ที่มีการเชื่อมประสานระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและญาติ
การสร้างเครือข่ายเป็นอีกกลยุทธหนึ่งของ Value base health care เพื่อให้เกิดเป็น Through network one pathway โรงพยาบาลเพิ่มเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะ Acute ให้สามารถเข้าถึงบริการรักษาผู้ป่วยหลอดสมองอุดตันด้วยวิธีสวนลากลิ่มเลือดครอบคลุมเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 18 โรงพยาบาล จากเดิมประสานผ่าน Supervisor พบปัญหาการส่งต่อข้อมูลเพื่อให้แพทย์พิจารณาส่งต่อผู้ป่วยมาทำหัตถการและการส่งต่อผู้ป่วยล่าช้ามากกว่า 2.5 ชั่วโมง จึงมีการพัฒนาระบบ Tele consult ผ่าน Application และมีการประชุมร่วมกันสะท้อนข้อมูล กำหนดเป้าหมายเวลาส่งต่อภายใน 120 นาที ส่งผลให้การส่งต่อข้อมูลรวดเร็ว แพทย์พิจารณาและตัดสินใจได้ภายใน 5 นาที รวมถึงระยะเวลาการส่งต่อผู้ป่วยได้เร็วขึ้น
การพัฒนาการเข้าถึงบริการในกลุ่มผ่าตัดหัวใจ มีการออกแบบเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วย Chronic case จากเดิมจะเสียชีวิตก่อนเนื่องจากการรอคิวผ่าตัดนาน ทีม CoE Heart ร่วมมือ สปสช.เขต 6 ออกแบบ Elective Work flow การสื่อสารประสานทีมสหสาขาวิชาชีพ ผ่านการออกแบบด้วย MS 365: ERAS Power App ในการเก็บข้อมูล กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิเคราะห์ สู่การปรับกระบวนการดูแลอย่างมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน, จัดทำเอกสารแบบ check list ในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดโดยโรงพยาบาลต้นสังกัด ส่งผลให้ผู้ป่วยลด
การเดินทาง ลดระยะเวลารอคอยการผ่าตัดเหลือ 2 สัปดาห์ อุบัติการณ์เลื่อนผ่าตัดเหลือ 2.9 % มีผลลัพธ์ที่ดีตามเป้าหมาย

นำเสนอแนวทางการปรับกระบวนการทำงาน คือ
1) ทีมการผ่าตัดหัวใจ ในรูปแบบของ ERAS โปรแกรม ซึ่งทีมแพทย์ นักกายภาพบำบัดและสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องร่วมกันตั้งเป้าหมาย เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (No pain – Sleep well – Eat enough – Early ambulation – Good relationship) มีการใช้ความรู้เฉพาะทางกำหนดประเด็นสำคัญ สื่อสารนำลงปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ทำให้ผลลัพธ์เบื้องต้นผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
2)  ทีม Neuro การใช้ IT Alert massage รายใหม่ นักกายภาพบำบัดสามารถเข้าดูและผู้ป่วยได้ไวขึ้น เริ่มตั้งแต่การเคลื่อนไหวบนเตียงจนกระทั่งนั่ง ยืน และเดินได้ในที่สุด รวมทั้งให้ญาติมีส่วนร่วมในการฝึกเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดินหรือการเคลื่อนย้ายนั่งรถเข็นและสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ ร่วมกันดูแลเรื่อง cognitive, การกลืน, การรับประทานยาที่ถูกต้อง ครบถ้วน, การสอนทำอาหารปั่น, ประเมินสภาพบ้านและการปรับสิ่งแวดล้อมที่บ้านก่อนกลับบ้าน
3) พยาบาลประสานงาน (Nurse Coordinator) ติดตามหลังจากหลังจำหน่าย ทั้งผลลัพธ์ของการดูแลรักษา
ภาวะแทรกซ้อน และคุณภาพชีวิตตามสภาพของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ส่วนผู้ป่วยที่ผ่าตัดหัวใจ ติดตามการกลับไปทำงานได้ตั้งแต่ 1- 3 เดือนหลังผ่าตัดขึ้นกับลักษณะงานและระดับคุณภาพชีวิตเฉลี่ยหลังผ่าตัด ผลลัพธ์ใกล้เคียงคะแนนเต็ม 1 แสดงว่าคนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งกายและใจ (perfect health) กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอายุที่ยืนยาวต่อไป

ภาพรวมของปัญหา อุปสรรค ความท้าทาย คือ ความไม่เข้าใจ ความไม่ไว้ใจ ความยุ่งยากในการประสานงาน
การยอมรับการเปลี่ยนแปลง นำมาปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดและการทำงานของทีมได้ โดยใช้กำหนดผลลัพธ์เชิงประสิทธิภาพ 5 วันของการนอนโรงพยาบาลว่าทำได้จริง  การประสานงาน้ชื่อมโยงด้วยกำหนดเป้าหมายร่วมกับ Protocol ตามมาตรฐานวิชาชีพ  รวมทั้งมีเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเพิ่มความถี่ในการติดตามดูแลอย่างใส่ใจในความต้องการของผู้ป่วย / ครอบครัว

KSF ปัจจัยสู่ความสำเร็จ คือ 1) ความชัดเจนของนโยบาย การสนับสนุนทรัพยากร 2) กำหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อให้อายุยืนยาว 3) การเห็นประโยชน์ส่วนรวม ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง รางวัลความภาคภูมิใจ คือเห็นผู้ป่วยกลับบ้านได้ 4) การสื่อสาร คุยกันมากขึ้น กล้าเล่าปัญหา การใช้ความเชี่ยวชาญของแต่ละวิชาชีพ/ เชื่อใจในการทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดผลลัพธ์ดี

ผนึกพลังสร้างสรรค์สุขภาพดี มีชีวิตยืนยาว
The Power of Unity leads
to Quality of Life

ผู้ถอดบทเรียน นางสาวมธุรส ภาสน์พิพัฒน์กุล
นักวิชาการผู้เยี่ยมสำรวจ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here