เส้นทางการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพในประเทศไทย (2) ตั้งแต่ปี 2540 แนวคิดและเกณฑ์คุณภาพที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย คือ Thailand Quality Award (TQA) หรือในชื่อภาษาไทยว่า เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
เกณฑ์นี้มีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) เกณฑ์ TQA ได้ขยายมุมมองด้านคุณภาพที่เดิมเพ่งอยู่ที่กระบวนการที่เป็นมาตรฐาน ออกไปครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นภาพรวมของการบริหารองค์กรและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หรือก็คือการมององค์กรเหมือนกับระบบๆ หนึ่ง ที่มีสภาพแวดล้อมรอบระบบ มี input, process, output และ information feedback loop ที่ช่วยให้ระบบดารงสถานะอยู่ได้อย่างเสถียร
ใน TQA ได้แบ่งเกณฑ์เป็น 7 หมวด (ดังภาพ) ซึงมีการให้คะแนนในแต่ละหมวด ดังนี้
การนำองค์กร คะแนน = 110,
กลยุทธ์ คะแนน = 95
ลูกค้า คะแนน = 95
การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ คะแนน =100
บุคลากร คะแนน 100
การปฏิบัติการ คะแนน = 100
ผลลัพธ์ คะแนน = 400
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) : สรพ. ได้นำเกณฑ์ TQA ทั้ง 7 หมวด มาใช้เป็นโครงของกรอบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน แต่ได้มีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของโรงพยาบาล โดยแตกรายละเอียดของหมวดการปฏิบัติการออกไปเป็นระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล และกระบวนการดูแลผู้ป่วย ตลอดจนแยกผลลัพธ์ออกไปเป็นอีกตอนหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังให้น้าหนักกับการประเมินในเรื่องระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล และกระบวนการดูแลผู้ป่วย มากกว่าเกณฑ์การปฏิบัติการของ TQA และให้น้ำหนักเรื่องผลลัพธ์น้อยกว่าเกณฑ์ TQA
ใน Quality 2.0 คุณภาพเป็นเรื่องของการออกแบบและจัดการเชิงระบบ (quality by system design) ไม่ใช่เพียงการควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ผู้เชี่ยวชาญกาหนดไว้เท่านั้น
นอกจากนี้ ผู้รับบริการยังต้องสามารถจับต้องคุณภาพที่ดีได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านผลลัพธ์งานบริการที่ดีที่สัมผัสได้
สำหรับผู้ให้บริการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็จะเป็น information feedback loop ที่ถูกนำมาทบทวนเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิผลดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง (continuous quality improvement)