พวกเราชาว HA มีเป้าหมายที่ตรงกัน คือ ร่วมกันสร้่างวัฒนธรรมคุณภาพให้สถานพยาบาลมีคุณภาพและประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัย กลไกของการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพให้มีความยั่งยืนต้องอาศัยกลไกธรรมาภิบาลระบบ (health system governance) และกลไกพัฒนาระบบ (HA) จากวัฒนธรรมตามยุทธศาสตร์ของสรพ.ที่ให้ทุกคน ทุกฝ่ายเป็นเจ้าของในการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบคุณภาพของสถานพยาบาลไทย กระบวนการของการขับเคลื่อน คือ ต้องทำอย่างเข้าใจธรรมชาติของเรื่องนั้นๆ ดังนั้นธรรมชาติของเรื่องคุณภาพระบบบริการสุขภาพ ได้แก่
- ระบบบริการสุขภาพมีความซับซ้อน (complexity)
- มีลักษณะโตไม่มีที่สิ้นสุด (Growth Mindset)
- มีการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Development; L&D)
- มีความเป็น dynamic system
- ผู้กี่ยวข้องทุกภาคส่วน (stakeholders) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
กระบวนทัศน์ใหม่ของการประเมิน การพัฒนาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนโดยผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ ผู้ประเมินต้องเป็นทั้งผู้ประเมิน (evaluator) และเป็นวิทยากรกระบวนการ (facilitator) พร้อมกัน แนวคิดการประเมินเพื่อพัฒนา (Developmental Evaluation; DE) เกิดพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบ ที่เรียกว่า“การขยายผล” (scale-up) ในรูปแบบใหม่ มุมมองใหม่ คือ มองระบบเป็นระบบที่ซับซ้อน และปรับตัว ไม่ใช่ระบบที่ Simple & Linear ใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ อยู่ในทุกจุดของการทำงาน คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้จากการทำงานจริงแล้วสะท้อน (reflect) ไปสู่หลักการที่เป็นทฤษฎี แล้วนำมาลองทำหลายๆ รอบจะเกิดยกระดับความรู้ความเข้าใจในงานนั้นมากขึ้น —–> สะท้อนคิดสู่ปัญญา
รูปแบบการเรียนรู้ ที่สามารถนำไปใช้ ได้แก่
1. การเรียนรู้แบบ Single Loop Learning เรียนรู้จากการตรวจหาข้อผิดพลาดในงานประจำ
ที่เคยมีมา และความผิดพลาดทางการจัดการให้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แก้ไขตรง process ไม่ได้คำนึงถีงเหตุผลหรือสาเหตุที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายหรือแผนงาน
2. การเรียนรู้แบบ Double Loop Learning เรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น มีการทบทวน
ปรับปรุงธรรมเนียมปฏิบัติ นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วย แบบนี้ทำให้องค์กรสามารถติดตามแก้ไขพฤติกรรมและสามารถกำหนดมาตรฐานหรือแนวทางที่ควรจะดำเนินการเองได้ ทำให้เห็นทิศทางและค่านิยมขององค์กรด้วย
3. การเรียนรู้แบบ Triple Loop Learning เป็นการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาหลักการใหม่
เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการมองประเด็นและแก้ปัญหา (transform) เป็นการสะท้อนกลับโดยดูประสบการณ์ที่ได้รับที่ผ่านมาทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ
คุณภาพและความปลอดภัยของบริการสุขภาพเป็นเป้าหมายที่เราต้องการให้ผู้รับบริการได้รับ เป็นเครื่องมือให้ผู้ให้บริการได้เกิดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือ learning and development ของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้อย่างไม่มีสิ้นสุด เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและจากประสบการณ์ เป็นวิธีการเพื่อสร้่าง Growth Mindset ร่วมกันอย่างเป็นทีม
ภญ.ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ และ ภญ.วรรณา ตั้งภักดีรัตน์ ผู้ถอดความ