Rapid Assessment ประเมินอย่างไว ได้ใจ ได้โอกาส

0
348
Rapid Assessment ประเมินอย่างไว ได้ใจ ได้โอกาส

“Growth mindset ในการทำ Rapid Assessment คือ การประเมินอย่างรวดเร็ว เพื่อเก็บผลลัพธ์มาพัฒนา สามารถสรุปผลออกมาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ มีเกณฑ์มีเป้าหมายชัดเจนในการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง มีตัววัดและใช้ Evidenceในการประเมิน เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง ต้องการความต่อเนื่องสร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา”

Assessment เจ้าของโครงการประเมินตนเอง มุ่งที่การปฏิบัติการ (Execution) มีตัวชี้วัดและใช้ Evidence
ในการประเมินเอาวิธีนี้มาใช้ในการวิจัย เป็นการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อให้คำชี้แนะ (Inform instruction) ใช้วิธีเชิงบวก ปรับให้เข้ากับแต่ละคน มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพ ผู้ถูกประเมินเป็น
ผู้ได้รับประโยชน์

Evaluation การวัดผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมาย มุ่งที่ outcome เกณฑ์ตัวชี้วัดเป็นหลักฐาน บุคคลภายนอกเป็น
ผู้ประเมินโครงการ มีเป้าหมายเพื่อตัดสินคุณภาพเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกและผู้กำหนดนโยบายเป็นผู้ได้รับประโยชน์

ประเภทของ Evaluation 1. Formative Evaluation ขณะที่โครงการอยู่ในช่วงเริ่มต้น ประเมิน Improving, Enhancing และ Standardizing 2. Summative Evaluation ขณะที่โครงการอยู่ตัวและเข้าที่แล้ว ประเมิน Established, Mature และ Predictable 3. Developmental Evaluation ขณะที่โครงการมีความสำเร็จ ความท้าทาย โอกาสพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงพัฒนานวัตกรรม ประเมิน Exploring, Creating และ Emerging

Rapid evaluation คือ การประเมินอย่างรวดเร็ว เพื่อเก็บผลลัพธ์มาพัฒนา ตัวอย่างเช่น การประเมินโดยการสอบถามผู้เข้าร่วมประชุมถึงระดับความพึงพอใจในการบริการเรื่องอาหารในการประชุม แบ่งเป็น 5 ระดับ ให้ยกมือแสดงความพึงพอใจที่มีต่ออาหาร ผู้ประเมินจะสามารถประเมินผลลัพธ์ได้ในทันทีว่าคนกลุ่มใหญ่ในห้องประชุมมี
ความรู้สึกอย่างไรต่ออาหารในงานประชุม นั้น กลุ่มคนส่วนใหญ่จะแสดงความคิดเห็นเป็นกลางๆอยู่ที่ระดับ 3
ผู้ประเมินจึงต้องมีวิธีที่จะให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงอย่างรวดเร็วโดยการทำ focus group, interview ถามทีละคน
ว่าตอบข้อนี้เพราะอะไร กลั่นกรองเหตุผลออกมาให้ได้ชัดเจน จะทำให้ได้ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ
ได้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการได้ทันที

Rapid evaluation  vs  Assessment Method” ใช้วิธีผสมผสานกันระหว่าง Quantitative approaches (การสำรวจ(Surveys) และการทบทวนชุดข้อมูลที่มีอยู่ (Review of existing data sets)
กับ Quanlitative approaches (การสัมภาษณ์ (Interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group), การสังเกต (Observation), การทบทวนเวชระเบียน (Record review)

กระบวนการทำ Rapid evaluation 1. ทำอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ 2. ผู้เข้าร่วม เป็น
ผู้แทนของบุคคลในพื้นที่ซึ่งมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการ 3. วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ นำเสนอผลการวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อชี้นำการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป กระบวนการนี้ดำเนินไปจนกว่าจะเกิดความอิ่มตัวทางทฤษฎี (Theoretical saturation)

ประโยชน์ที่ได้จากการทำ Rapid evaluation คือความรวดเร็วในการแก้ไขข้อผิดพลาด เรียนรู้ความไม่สอดคล้องและความเสี่ยงตรงหน้าได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำ หรือแม้หากเกิดปัญหาขึ้นแล้ว จะทำให้ได้รู้และแก้ไขก่อนที่จะเกิดปัญหาที่ใหญ่กว่าตามมา  หากทำเป็นแบบสอบถาม กว่าจะรวบรวมคำตอบได้หมด นำมาวิเคราะห์ ใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ซึ่งช้าเกินไปไม่ทันการณ์

ตัวอย่างการทำ Rapid assessment ในงานดูแลผู้ป่วย 1. พยาบาลโทรสอบถามอาการผู้ป่วยหลังกลับบ้าน
ตั้งเป้าหมายต้องการข้อมูลเพื่อค้นหาคำตอบว่า ยังขาดกระบวนการอะไร  เพื่อขยายไปสู่ระบบการจำหน่ายผู้ป่วยเพื่อป้องกันการ Revisit ด้วยโรคเดิม 2. สภาพแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน จะ Rapid assessment อะไรได้บ้าง เช่น นึกถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและญาติ จะต้องประเมินอะไรบ้าง คนไข้เป็นอะไร มีความเสี่ยงอะไรหรือเปล่า จนไปถึงว่าแต่ละวันมีคนไข้ประเภทใดบ้าง มีความเสี่ยงแต่ละระดับกี่คน ต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้างเพื่อป้องกันความเสี่ยง เช่น จำนวนบุคลากร ความพร้อมของอุปกรณ์ ค่อยคิดไปแต่ละเรื่องในแต่ละวัน 3. Rapid assessment สามารถทำได้ทุกที่ในโรงพยาบาล เช่น หน้าห้องยา โดยการนั่งสังเกตการณ์ หรือแฝงตัวเข้าไปทำงานในแผนกนั้นสัก 1 ชั่วโมง ไม่ควรอยู่นาน เพราะในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง จะยังรู้สึกแปลกใหม่ เกิดความรู้สึก “เอ๊ะ” ตลอดเวลา หากอยู่นานกว่านั้นจะชินกับบรรยากาศมากเกินไป

Recommendation อะไรที่เกี่ยวข้องกับปัญหา กำหนดกลุ่มประชากร วิเคราะห์ความสำเร็จของปัญหา จาก flow นี้เอามาวางแผนกำหนดแนวทางการปฏิบัติ เช่น ประเมิน PCT ดูตัวชี้วัด ครอบคลุมมิติคุณภาพสำคัญครบถ้วนไหม
มีการตามรอยทางคลินิก ผลการตามรอยเป็นอย่างไรตามรอยกระบวนการดูแลคนไข้และเวชระเบียน เห็นโอกาสพัฒนาเรื่องอะไร มีแผนพัฒนาอะไรที่มาจากการตามรอยจากโอกาสพัฒนานั้นๆ (อยู่ใน Clinical quality summary
ของ PCT) ประเมินว่าทุก PCT ได้ทำ Rapid assessment แล้วจะเจอปัญหา ว่าต้องเข้าไปช่วยเหลือตรงจุดไหน

การสอบถามความรู้สึกของผู้ป่วยในขณะที่รับบริการแต่ละกระบวนการ ต้องตั้งประเด็นให้เป็นบางครั้งผู้ประเมินแต่ง
ชุดฟอร์ม ผู้ตอบอาจไม่กล้าตอบข้อมูลจริง อาจให้เป็นนักศึกษาเป็นผู้สัมภาษณ์ Staff experience ต้อง design คำถาม เช่น สิ่งแวดล้อมอย่างไรที่จะทำให้การทำงานมีความสุข หาเป้าหมาย เชิง positive มาเป็นตัวตั้งในการสนทนา เพื่อหาประเด็นสนทนาต่อไปได้ หลายองค์กรประสบปัญหาพนักงานลาออก การทำ Rapid assessment อาจช่วยแก้ไขภาวะ burn out, กระตุ้น passion เพื่อทราบความต้องการของพนักงานป้องกันพนักงานลาออก
ซึ่งเป็นปัญหาที่มีกระทบต่อองค์กรอย่างมาก

ผู้ถอดบทเรียน นางกาญจนา เสนะเปรม
หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here