Rapid Evaluation and Assessment (REAM), and Clinical Audit in Practice

0
2457
Rapid Evaluation and Assessment (REAM), and Clinical Audit in Practice
Rapid Evaluation and Assessment (REAM), and Clinical Audit in Practice

Rapid Evaluation and Assessment (REAM), and Clinical Audit in Practice

โรงพยาบาลต้องมีการประเมินตนเองที่น่าเชื่อถือ Rapid Evaluation and Assessment (REAM) เป็นเครื่องมือที่โรงพยาบาลสามารถใช้ในการประเมินตนเองได้อย่างกระชับ ฉับไว ใช้ประเมิน Compliance ได้ …การใช้เครื่องมือ Rapid Evaluation and Assessment (REAM) ต้องทำให้เรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก ต้องเชื่อมโยงไปสู่วัตถุประสงค์และผลลัพธ์ระยะยาว โดยควรเป็นข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้เวลาสั้นๆ ข้อมูลจำนวนน้อยแต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก

 …ตัวอย่างเครื่องมือที่ดี ได้แก่ Clinical Audit, Safer Dx Instrument, Rapid Evaluation Toolkits” 

สิ่งที่ได้เรียนรู
1. Clinical Audit เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพ เริ่มใช้ในประเทศอังกฤษ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ Review ทั้งระบบ โดยการกำหนดโรคและทบทวนทั้ง 3 ด้าน คือ Structure, Process และ Outcome นอกจากนี้ Clinical Audit ยังมีความเชื่อมโยงกับมาตรฐานตอนที่ I-1.2ก(3) ในส่วน Clinical Governance มาตรฐานตอนที่ II-1ข. การดูแลผู้ป่วย และมาตรฐานตอนที่ III กระบวนการดูแลผู้ป่วย

2. Clinical Audit ความสัมพันธ์กับธรรมาภิบาลทางคลินิก การเลือกหัวข้อข้อในการทำอย่างชาญฉลาด ให้เลือกจาก Care Process นำมาเทียบกับ Guideline ข้อร้องเรียน มีอุบัติการณ์ความเสี่ยง และตรงกับความต้องการการแก้ปัญหาของทีม

Safer Dx Instrument

  1. ประวัติที่บันทึกไว้ชี้ว่าน่าจะให้การวินิจฉัยโรคเป็นอย่างอื่นซึ่งไม่ได้มีการพิจารณาในกระบวนการวินิจฉัยโรค
  2. การตรวจร่างกายที่บันทึกไว้ขี้ว่าน่าจะให้การวินิจฉัยโรคเป็นอย่างอื่นซึ่งไม่ได้มีการพิจารณาในกระบวนการฯ
  3. ข้อมูลที่รวบรวมจากประวัติ การตรวจร่างกาย การทบทวนเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งผลการตรวจ investigate ที่เคยทำไว้ มีความไม่สมบูรณ์เมื่อพิจารณาประวัติการเจ็บป้วยและ clinical presentation
  4. ไม่มีการนำอาการที่ส่งสัญญาณเตือนหรือ “Red Flags” (clinical presentation ที่สี่อว่าอาจเป็นโรคที่รุนแรง) มาพิจารณาตอบสนอง
  5. กระบวนการวินิจฉัยโรคได้รับผลกระทบจากข้อมูลทางคลินิกจากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง
  6. ข้อควรทางคลินิก (ประวัติ ตรวจร่างกาย investigation) ควรทำให้มีการสั่ง investigation หรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติม
  7. การให้เหตุผลสำหรับการวินิจฉัยโรคไม่เหมาะสม (พิจารณาจากประวัติและ clinical presentation)
  8. มีการแปลความหมายข้อมูลจาก diagnostic data (ห้องปฏิบัติการ รังสี พยาธิวิทยา หรืออื่น ๆ) ผิดพลาดเมื่อพิจารณาจากfinal diagnosis
  9. ไม่มีการติดตาม diagnostic data ที่รายงานหรือบันทึกไว้ เทียบกับ final diagnosis
  10. ไม่ได้มีการบันทึก differential diagnosis หรือ diff diag ไม่ครอบคลุม final diagnosis
  11. Final diagnosis ไม่มีความเชื่อมโยงกับ initial diagnosis
  12. Clinical presentation แรกรับ มีลักษณะ typical ของ final diagnosis
  13. โดยสรุป พลาดโอกาสที่จะให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและเหมาะกับเวลา

ผู้ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ภาพถ่ายโดย MART PRODUCTION จาก Pexels


ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here