Risk Management Tools : Risk Register

0
9154
Risk Management Tools : Risk Register
Risk Management Tools : Risk Register

Risk Management Tools : Risk Register

“ทะเบียนจัดการความเสี่ยง (risk register) จะช่วยในการกำกับติดตามและทบทวน เพื่อให้วงล้อของการพัฒนาคุณภาพเกิดขึ้น บางเรื่องที่ไม่มีเจ้าภาพรับผิดชอบที่ชัดเจนจะทำให้เกิดบทบาทที่ชัดเจนและเกิดการติดตามว่าอะไรที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดระบบที่สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรกล้าที่จะรายงานอุบัติการณ์โดยไม่กลัวว่าจะถูกตำหนิ”  (อ.ผ่องพรรณ ธนา)

 Risk Register คือ ทะเบียนจัดการความเสี่ยง ที่ใช้เป็นเอกสารหลักเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง (risk management tools) ทุกขั้นตอน ทำให้เป็นกระบวนการที่มีชีวิตเป็นพลวัตมีการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยองค์ประกอบของ Risk Register ประกอบด้วย Risk identification risk analysis , Risk Treatment และ Risk Monitor and Review การบรรยายใน Session นี้ใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบ Participation Learning โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการในการจัดทำ Risk Register เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ได้รับคำตอบเกี่ยวกับปัญหาและข้อห่วงกังวลในการจัดทำ Risk Register โดยมีสาระโดยสรุปเกี่ยวกับ

  1. แนวคิด Risk Register และประโยชน์ของการใช้ Risk Register
  2. Pitfall ในการจัดทำ Risk Register
  3. แนวทางในการจัดทำ Risk Register
  4. ตัวอย่างการใช้ Risk Register อย่างมีคุณค่า
  5. การใช้ Risk Register ร่วมกับเครื่องมือคุณภาพต่างๆ

ผ่องพรรณ ธนา กนกรัตน์ แสงอำไพ ดร.อำพัน วิมลวัฒนา ร่วมกันบรรยาย โดยเริ่มจากความแตกต่างของความเสี่ยงและอุบัติการณ์ โดยความเสี่ยงคือโอกาสที่จะเกิดอันตรายกับผู้ป่วย ส่วนอุบัติการณ์คือเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิด หรือได้ทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย (ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น) อุบัติการณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น อุบัติการณ์ในอดีต อาจเป็นความเสี่ยงในปัจจุบันและอนาคต อุบัติการณ์ในอดีต อาจไม่เป็นความเสี่ยงอีกต่อไปหากมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างรัดกุม ความเสี่ยงมีทั้งอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นและโอกาสเกิด ซึ่งยังไม่เคยมีอุบัติการณ์ ดังนั้นการค้นหาความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยเพื่อนำมาจัดทำ Risk Register จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ หน้าที่และความมุ่งมั่นของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ให้การสนับสนุนโดยออกแบบองค์ประกอบสำคัญของระบบบริหารความเสี่ยงให้ชัดเจน มีการวางระบบ และกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน นำระบบบริหารความเสี่ยงไปปฎิบัติ เน้นย้ำและกำกับติดตามและทบทวนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีการปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

บทบาทของหน่วยงานกับ Risk register                                                                      Corporate Risk ความเสี่ยงที่มีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง            Operational Risk ความเสี่ยงระดับระบบงาน เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการระบบที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงแต่ละระบบ วิเคราะห์กำหนดมาตรการป้องกันและกำหนด Risk Owner แล้วจัดทำ Risk Register ระดับทีมนำแล้วคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงนำมารวบรวมเป็นบัญชีความเสี่ยงกลางของโรงพยาบาล

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Risk Management Tools : Risk Register

ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กง.พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

Photo by Magic Bowls on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here