Servant Leadership: Leading by serving

0
2908
Servant Leadership: Leading by serving
Servant Leadership: Leading by serving

Servant Leadership: Leading by serving

“ชีวิตก็คือการเดินทาง และการเดินทางของมนุษย์นั้นมีเหตุปัจจัยหลายประการที่ทำให้ชีวิตมีความหมาย”

ยุค 4.0 ผู้นำต้องมีทักษะในการเป็น “ผู้รับใช้ (servant)” โดยมีความเข้าใจในความต้องการ ความรู้สึก และแรงผลักดันของคนในองค์กร มีการประสานความเชื่อมโยง การนำศักยภาพมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กลายเป็นองค์กรที่เรียนรู้ตนเอง และพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับวิถีที่พึงปรารถนาและที่มาของตัวตนแห่งองค์กรนั้นๆ ยุค 4.0 เป็นยุคของการบริหารจัดการคนให้ดูแลคน เป็นเรื่องของความเชื่อในความเป็นมนุษย์ และคุณค่าที่มีอยู่ในตัวทุกคน “ผู้นำต้องเปลี่ยนเป็นผู้อำนวย หมายถึง ผู้อำนวยการเรียนรู้หรืออำนวยการในทุกๆเรื่อง เพื่อให้คนทำงานสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง”  ผู้นำต้องคอยส่งเสริมและอำนวยให้เกิดองค์กรจัดการตัวเอง (Self-Organization) ซึ่งเชื่อมโยงไปกับวิถีของคนยุค 4.0 อย่างชัดเจน การเชื่อในคุณค่าของคน (Personal Value) ศรัทธาในคุณค่าที่มีอยู่ในตัวทุกคน และทุกคนสามารถดูแลและจัดการตัวเองได้ ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ด้วยตัวเองเช่นเดียวกัน

ดร.นพ.สกล สิงหะ                                                                                                                ผู้นำมีหลายประเภท ผู้นำที่จะกล่าวถึงในวันนี้เป็นผู้นำที่อาจจะมีความแปลกกว่าที่เคยรับทราบมีบางคนคิดว่าเป็นผู้นำประเภทนี้แล้วจะมีความสบายมากว่าผู้นำประเภทอื่น นั่นคือ Servant Leader ผู้นำที่เป็นผู้รับใช้  มิใช่ผู้นำคือผู้มีอำนาจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีการฝึกหัดการเป็นผู้นำแบบ Servant Leader ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรับสมัครคัดเลือกผู้ที่จะเป็นประธานหอพัก มีหน้าที่คือ เป็นคนรับใช้ เช่น เสริฟอาหาร ให้บริการต่างๆ กับนักศึกษา เป็นต้น ในครั้งนั้น ฮิลลาลี่ ครินตัน เป็นผู้นำคนแรกที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ส่งผลให้มีการสืบทอดแนวคิด เรื่อง Believe Organization

Why and When Leader fails?: ที่ผ่านมาเรามักคิดว่า หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์      หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว นั่นคือ“ความล้มเหลว”แต่ในความเป็นจริงเป้าหมายอาจไม่ต้องพิจารณาเฉพาะผลลัพธ์ (Outcome) แต่ควรมีการพิจารณาที่กระบวนการ (Process) ด้วย เนื่องจากกว่าจะถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ต้องผ่านเส้นทาง กระบวนการมากมาย เราได้เรียนรู้จากกระบวนการใดที่เกิดขึ้นมาแล้วบ้างย เช่น แพทย์รักษาผู้ป่วย คิดเพียงต้องการให้ผู้ป่วยหายเท่านั้น แต่หากคิดต่อว่าระหว่างทางในการรักษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง (เป้าหมายอาจไม่สำคัญ เท่ากับว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง) สิ่งรอบตัวมีเป้าหมาย ควรมีการสังเกต และมีการเรียนรู้ เช่น ทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น การนำสิ่งที่ล้มเหลวมาสรุปบทเรียน หาทางป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำเป็นสิ่งที่ดี แต่หากไม่สามารถเตรียมตั้งรับกับความล้มเหลวเลย ทำให้เราไม่มีภูมิคุ้มกัน  เช่น การเดินทางเข้าป่ามีหลายทาง ดังนั้นต้องมีการเตรียมตัวเผชิญทั้งเรื่องดี และไม่ดี เนื่องจาก ชีวิตมีทั้งดีและไม่ดีเสมอ แนวคิดนี้สามารถใช้ได้กับการรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้ผู้ป่วย และญาติยอมรับและทำใจได้กรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

ผู้นำควรมองทุกเรื่องเป็นองค์รวม มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เช่น การทำงานของ PCT คือ การทำงานเป็นทีมผู้นำควรอ่อนน้อมถ่อมตน ดังเช่น รัชกาลที่ 9 เคยทรงตรัสกับแพทย์ว่า “ให้หมออ่อนน้อมถ่อมตน” การอ่อนน้อมถ่อมตน ขัดกับทฤษฏีการให้รางวัล เนื่องจากกำหนดให้ผู้ที่ชนะได้รางวัลที่ 1 รางวัลที่ 2 รางวัลที่ 3 แสดงว่าบุคลากรนอกจากนั้นไม่ประสบความสำเร็จใช่หรือไม่ การบริหารยุคใหม่มีการกำหนด ranking ถือเป็นการทำลายความรู้สึกของคนบางกลุ่ม สังคมมักเชิดชูผู้ที่ได้คะแนนมาก ทำไมต้องมีบุคคลดีเด่น หากมองทุกอย่างเป็นองค์รวมการทำงานที่อาศัยความร่วมมือ จึงประสบความสำเร็จ ไม่สามารถทำงานเพียงลำพังคนเดียว เช่น ศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องเชื่อมโยงหากเป็นเช่นนี้ ควรมีใบปริญญาหมู่ดีหรือไม่

“ความแตกต่างระหว่าง – หลงคลั่ง (Fanatic) กับ – มุ่งมั่น (Commitment) ผู้นำที่มีความหลงคลั่ง คือ จะมีความเชื่อมั่นใจว่าตนเองมีคำตอบที่ถูกต้องสำหรับทุกปัญหาทุกเรื่องราว จะรู้ทุกเรื่องมีแผนสำหรับทุกอย่าง เพราะความ “รู้แน่นอน” เองทำให้ “มีอำนาจ (authority)” ในการนำคนอื่น ผู้นำที่มุ่งมั่นจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตัดสินบนความไม่แน่นอน และอยู่กับ “ข้อกังขา” ได้

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Servant Leadership: Leading by serving

ถอดบทเรียน สดศรี พูลผล

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาคุณภาพ (หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล                              รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล         

ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here