Special Share and Learn with the Legends of Quality: จากเริ่มต้น สู่ตั้งต้น จนเติบโต & Special Talk: Move Forward Quality from Story in the Past

0
468
Special Share and Learn with the Legends of Quality: จากเริ่มต้น สู่ตั้งต้น จนเติบโต & Special Talk: Move Forward Quality from Story in the Past

“…การรักษาพยาบาลแบบไทย ๆ มีความเอาใจใส่ มีน้ำใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสดีขึ้นกว่าเดิมมาก ตั้งแต่มี HA มา…การดูแลด้วยใจ ถือเป็น soft power
ที่เรามีของดีกว่าสากล การพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลที่สำคัญ คือ ความเป็นไทย…”

“การกระจายคุณภาพ ความปลอดภัยไปทั่วประเทศไทยเป็นไปได้ โดยการพัฒนาโรงพยาบาลปฐมภูมิ
ทุติยภูมิและตติยภูมิ ให้เป็น One Health…การพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแนวปฏิรูป
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา ผลิตแพทย์เพื่อกลับไปดูแลประชาชนในชุมชน ซึ่งต้องฝึกทั้งความเป็นผู้นำและศาสตร์ต่างๆ เป็นความหวังที่จะทำให้เกิดการแพทย์ที่ดูแลประชาชนและชุมชน สู่การเป็นระบบบริการสุขภาพที่ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่ก้าวไกล”

การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล อดีต บทเรียน อนาคต การพัฒนาแลพรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เริ่มมาจาก JCI ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ได้เริ่มนำมาพัฒนาในประเทศไทย ในปี 2540 สวรส.และ สสส. ได้ให้ทุนโครงการวิจัยกลไกส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ได้เชิญผู้อำนวยการโรงพยาบาล 30 แห่ง มาทดลองกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ต่อมาในปี 2542 ได้ก่อตั้งสถาบันพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการพัฒนาและรับรองโรงพยาบาล โดยใช้ คุณธรรม คือความเมตตา ความมีน้ำใจ บุพการี ความรับผิดชอบต่อชีวิตและสุขภาวะสร้างให้เกิด คุณภาพ ได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ กระบวนการคุณภาพ และความเป็นจริง คือ การดำเนินงานในสถานการณ์จริง นอกจากนี้ยังได้ใช้กลไก การประชุมวิชาการประจำปี National HA Forum เป็นผลสำเร็จในการสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล มีการกำหนด Theme การจัดงานในแต่ละปีซึ่งเป็นการขยายเป้า ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล Education พัฒนาการเรียนรู้ และ Exhibits Presentation จัดแสดงผลงาน นวัตกรรมต่างๆ มากมาย ที่ไม่ใช่เป็นแค่พิธีกรรม แต่เป็นความภาคภูมิใจ ที่เข้าไปในจิตใจของคนทำงาน         

จาก พรพ. สู่ สรพ. ต่อมา ในปี 2552 ได้เปลี่ยนจาก พรพ. เป็น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
มาจนถึงปัจจุบัน มีความก้าวหน้าในการพัฒนา HA Standard จากฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 4 ได้นำเกณฑ์คุณภาพ TQA มาใช้ในการวัดคุณภาพและความปลอดภัย เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นมากมาย เช่น HACC กระจายไปในวงกว้าง
ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีการขยายตัวทั้งด้าน HR, Platform และ Network ที่มีความก้าวหน้าและหลากหลายมากขึ้น โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ 4 ประเด็น ที่ต้องใคร่ครวญให้ดีในการดำเนินงาน 

ประเด็นที่ 1 บทบาทของ สรพ. ในการพัฒนาคุณภาพ และการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ต้องสร้างสมดุลของบทบาทของ สรพ.ทั้งการพัฒนาคุณภาพ และการรับรองคุณภาพ ซึ่งต้องอยู่ด้วยกันอย่างสมดุลและโดยเป็นอิสระต่อกัน ข้อควรคำนึง คือ “อย่าให้การพัฒนาอยู่เหนือการประเมิน”

ประเด็นที่ 2 มาตรฐานสากล กับ มาตรฐานแบบไทย ๆ ความเป็นไทยเป็นฐานของการพัฒนาคุณภาพที่มีคุณธรรม คือ ความเมตตา กรุณา มีน้ำใจ บุพการี (การบริการทางการแพทย์เป็นบุพการี คือ การให้การอุปการะ ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ด้วยความมีน้ำใจโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ) มีความรับผิดชอบต่อชีวิตและสุขภาวะ

…การรักษาพยาบาลแบบไทยๆ มีความเอาใจใส่ มีน้ำใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ตั้งแต่มี HA มา…การดูแลด้วยใจ ถือเป็น soft power ที่เรามีของดีกว่าสากล การพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลที่สำคัญ คือ ความเป็นไทย…”

ประเด็นที่ 3 บันใด 3 ขั้น สู่การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และการพัฒนาสู่ AHA เพื่อเทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยพัฒนา Hospital-based ลดการตาย Technology-based ช่วยให้เข้าถึงบริการได้มากขึ้น จุดเปลี่ยนสำคัญคือการเปลี่ยนสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้เป็นจาก Preventive Care เป็น Curative Care พัฒนาสู่ Acute care, Modernized Care และInternational Standard ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรค
ที่รักษาไม่หาย ต้องดูแลรักษาตลอดชีวิต ระบบการดูแลรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาเป็นห้วงๆ ไม่ต่อเนื่อง ทำให้การรักษาไม่ได้ผล เกิดความแออัดในโรงพยาบาล, Interrupted care เกิดความไม่สมดุลในระบบบริการ เกิดความเหลื่อมล้ำสูง เกิดความไม่เป็นธรรมในระบบสุขภาพ ส่งผลให้ความไว้วางใจในระบบบริการสุขภาพลดลง

“เพื่อสร้างความไว้วางใจในระบบบริการสุขภาพ ต้องให้ความสำคัญกับ 3P safety ต้องมี Quality Standard สำหรับระบบบริการที่หลากหลาย ต้องขยายคุณภาพบริการไปในสถานพยาบาลทุกระดับ”

ประเด็นที่ 4 การขยายขอบฟ้า growth mindset” การนำเทคโนโลยีและการแพทย์เฉพาะทาง เข้ามาในระบบการดูแลรักษาพยาบาล เป็นทิศทางที่จำเป็น แต่ไม่ใช่ทิศทางเดียว ต้องกระจายเทคโนโลยีสู่ระบบบริการปฐมภูมิ
ทุติยภูมิ ตติยภูมิ  จนถึงตติยภูมิขั้นสูง เพื่อให้เกิด Life Saving Care

การพัฒนาโรงพยาบาลชุมชน ให้ได้มาตรฐาน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนิการ ตัวอย่างการพัฒนานาโรงพยาบาลชุมชนให้สามารถให้การวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ เช่น โรงพยาบาลวังวิเศษ พัฒนาห้องฉุกเฉินให้ตรวจ EKG, Troponin ส่งข้อมูลทาง Line Application ไปยังศูนย์หัวใจโรงพยาบาลตรัง สั่งการรักษาและส่งต่อผู้ป่วยไปฉีดสีและส่งภาพฉีดสีกลับมายังโรงพยาบาลวังวิเศษ ทำให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการมีการนำเทคโนโลยี มาช่วยให้เกิดการช่วยชีวิตได้ เป็นต้น

“การกระจายคุณภาพ ความปลอดภัยไปทั่วประเทศไทยเป็นไปได้ โดยการพัฒนาโรงพยาบาลปฐมภูมิ
ทุติยภูมิและตติยภูมิ ให้เป็น
One Health…การพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแนวปฏิรูป คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา ผลิตแพทย์เพื่อกลับไปดูแลประชาชนในชุมชน ซึ่งต้องฝึกทั้งความ
เป็นผู้นำและศาสตร์ต่างๆ เป็นความหวังที่จะทำให้เกิดการแพทย์ที่ดูแลประชาชนและชุมชน สู่การเป็น
ระบบบริการสุขภาพที่ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่ก้าวไกล”

ผู้ถอดบทเรียน นางสาวรุ่งนภา ศรีดอกไม้
หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here