Spiritual in Organization Measurement and Benefit

0
595
Spiritual in Organization Measurement and Benefit

“People work with not only their hands, but also their hearts and spirit”
“การประเมินระดับจิตวิญญาณเน้นคุณค่าของมนุษย์”


แนวคิดการบูรณาการจิตวิญญาณเข้าไปในองค์กรมีมานานแล้ว
แต่ยังขาดเรื่องวิธีการวัด วิทยากรได้บรรยาย
ถึงการประเมินระดับจิตวิญญาณซึ่งเป็นการประเมินที่ก้าวหน้ามากกว่าการประเมินบุคลากรแบบดั้งเดิม เป็นการรับรู้ personal growth mideset เป็นการวัด growth mindset ในระดับตัวบุคคล ดูว่าคนมีจิตวิญญาณระดับไหนในการทำงานให้องค์กร เป็นการวัดจากประสบการณ์ที่ลึกล้ำด้านในสู่การกระทำภายนอกของบุคคล แสดงออกในรูปแบบพฤติกรรมที่สัมผัสได้ เช่น คุณค่างาน คุณธรรม การเป็นสมาชิกองค์กรที่ดี การดำรงชีวิตที่มีความหมาย เป้าหมายการทำงานสู่ความสำเร็จชององค์กร เพื่อที่องค์กรจะได้พัฒนาไปได้ต่อไป

จิตวิญญาณในการทำงาน (spirit at work, spiritually at work, workplace spiritually, spiritually in the workplace) มีความหมายแตกต่างกันออกไปตามบริบทของแต่ละแห่ง แต่พบว่ามีองค์ประกอบร่วม เช่น meaningful work, connection, sense of community, alignment of organization value และ inner life การวัดในสิ่งที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ มีทั้งสิ่งที่คงที่(fix)และยืดหยุ่น(flexible)

ผู้ที่ให้องค์ประกอบของจิตวิญญาณในการทำงานและสร้างเครื่องมือวัดจิตวิญญาณคนแรก คือ Ashmos&Duchon (2002) เครื่องมือนี้วัด 3 องค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ ชีวิตด้านใน(inner life) งานที่มีความหมาย(meaningful work) และสำนึกร่วมความเป็นชุมชน (sense of community)
วัดการรับรู้ ความรู้สึก หรือความเข้าใจของพนักงานแต่ละบุคคล ตลอดจนความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อองค์กรในการรับรู้หรือความเข้าใจในองค์กรนั้น การวัดจิตวิญญาณในการทำงานจะสัมพันธ์กับภารกิจ คุณค่า และเป้าหมายขององค์กรได้อย่างสอดคล้องมากน้อยเพียงใด

การวัดจิตวิญญาณในระดับสากล เช่น Spiritual at work (Ashmos&Duchon) Faith at work scale (Lynn, Naughton&Vander Veen) Spiritual well-being scale (Paloutzian&Ellison) Spirit at work scale (Kinjerski&Skrypnek) Spiritual climate inventory (Pandey, Gupta&Arora) Spiritual Healthcare in Action scale (Duangsamorn HAI-Thailand)

ประเทศไทยมีการวัดจิตวิญญาณ Spiritual Healthcare in Action scale (Duangsamorn HAI-Thailand 2021) โดยเป็นการวัด 4 ด้าน ดังนี้ 1. Inner life 2.Meaningful work 3.Sense of connection Community 4.Spiritual connection เชื่อว่า ถ้าเราทำดีมากๆ อีกหน่อยความดีจะต้องตอบแทนเรา

นำองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน มากำหนด คำนิยามเชิงปฏิบัติการ สามารถสังเกต ตรวจสอบ หรือ ทำการวัดได้ เนื้อหา
ในการตั้งคำถามมาจากการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาออกแบบสอบถาม คุณภาพของแบบวัด ความถูกต้องของเนื้อหา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิญญาณ มี reliability Cronbach’s alpha 0.96

จิตวิญญาณในการทำงานเป็นลักษณะเด่นชัดของการรับรู้ทางปัญญา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับจิตวิญญาณและประสบการณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล แบบประเมินจิตวิญญาณในการทำงานออกแบบสำหรับบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ไม่เหมาะสมในการนำไปประเมินผู้ป่วย ญาติ ความสามารถในการพัฒนากิจกรรมหรือสร้างนวัตกรรม
ในระบบงานเพื่อรองรับความต้องการซึ่งได้มาจากการประเมินเพื่อให้ระบบบริการสู่เป้าหมายคนเป็นศูนย์กลาง (person-centered care)

ความสามารถในการพัฒนากิจกรรมที่สามารถตอบสนองต่อผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ผู้รับบริการ ญาติ ครอบครัว และทีมงานเพื่อนำไปสู่การตอบสนองอย่างเป็นองค์รวม และผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ คือ ระบบบริการสุขภาพที่มีจิตวิญญาณ (spiritual health care)

รศ.นพ.ธนวัฒน์ วะสีนนท์ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
การนำ Spiritual in Organization Measurement and Benefit: MedCMU ไปใช้ที่โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ แต่อย่างไรก็ตามการประเมินทางจิตวิญญาณนี้ขึ้นกับ บริบท ความแตกต่าง ความยากของแต่ละโรงพยาบาล แต่ให้ยึดหลักว่า เพื่อบุคลากร เพื่อผู้ป่วย ผู้รับบริการ เพื่อญาติ เพื่อประชาชน ที่สำคัญ Spiritual Hospital Accreditation (SHA) ต้องขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรม core value ขององค์กร

ผู้ถอดบทเรียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ปฏิการ ดิสนีเวทย์
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here