ทุกการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เริ่มได้ด้วย Growth Mindset

0
2515

“…Growth mindset ของเราไม่ใช่เพียงช่วยเราเอง แต่นำเอาไปช่วยผู้อื่น

และไม่ใช่เพียงของเราคนเดียว แต่ต้องสร้างให้เกิดเป็น growth mindset หมู่…”

8 ประเด็น สำคัญจาก อ.ประสิทธิ์ ถึงผู้ฟัง และผู้อ่าน

  1. คนที่มี Growth mindset คือ คนที่พร้อมรับแนวคิดใหม่ ๆ คิดถึงทุกความเป็นไปได้ในสิ่งที่คนอื่นเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ และการอยากทำสิ่งใหม่ ๆ นี้ทุกคนเคยทำมาตั้งแต่เด็ก เหมือนตอนเริ่มหัดเดิน เราเห็นคนข้างหน้าเราเดินได้ เราก็อยากเดินให้ได้แบบเขา เราค่อยๆเรียนรู้ แม้จะล้มลุกคลุกคลาน สุดท้ายเราก็ไม่ย้อท้อ และเดินจนได้ในที่สุด 

“…เพราะฉะนั้นการอยากทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ เป็นเรื่องที่ทุกคนเคยทำ…”

2. การเสนอความคิดใหม่ๆ ในสิ่งที่คนทั่วไปคิดไม่ถึง มักเกิดแรงต้านจากคนที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง (Fixed mindset) บางครั้งอาจจะมาในรูปแบบการเสียดสี ดูถูก หรือกระทั่งทำให้กลายเป็นเรื่องตลก ดูเพ้อฝัน เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่เคยพบเห็นมาก่อน จึงทำให้ไม่เปิดใจยอมรับ 

3. จุดเด่นของคนที่มี Growth mindset คือ คนที่มักคิดนอกกรอบ และมองเห็นโอกาสจากงานที่ดูยาก แม้ 95% อาจเป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้น้อย แต่ยังคงมองเห็นอีก 5% ที่อาจสร้างความเป็นไปได้ที่ยิ่งใหญ่  สร้างความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

4. คุณสมบัติของการแก้ปัญหาของคนที่มี Growth mindset 3 ประการ คือ

  1. ความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหา
  2. ความพยายามขวนขวายหาความรู้ และวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด จากการต่อยอดองค์ความรู้เดิม หรือวิจัยค้นคว้าขึ้นใหม่
  3. การแสดงสิ่งที่คิดให้เห็นเป็นรูปธรรม

5. อุปสรรค และปัญหาเกิดขึ้นได้ตลอดเส้นทางการพัฒนา แต่สิ่งเหล่านี้ก็มีข้อดี เพราะจะช่วยกระตุกให้เราหยุดคิดและหันกลับมาพิจารณาสถานการณ์ การมองเห็นว่าปัญหาคือโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา จะยิ่งทำให้เราเก่งขึ้น และเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น

“…เพราะการผิดพลาด ล้มเหลว เป็นเรื่องที่ทุกคนเคยพบ

การเรียนรู้ที่จะไม่ผิดพลาดอีก เป็นเรื่องที่ทุกคนเคยเรียนรู้…”

6. เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าทุกความสำเร็จ ย่อมเกิดจากความล้มเหลวมาก่อน แต่บางครั้ง ความสำเร็จ เป็นบ่อเกิดแห่งความล้มเหลวได้ หากหลงระเริงอยู่ในความสำเร็จในช่วงแรก และไม่พยายามพัฒนาขยายผลต่อ และพึงระลึกไว้เสมอว่าเมื่อเราประสบความสำเร็จ ย่อมมีคนพร้อมเดินตามรอยมากมาย หากเราไม่พัฒนาต่อ คนอื่นก็พร้อมจะแซงหน้าไปได้เช่นกัน

“…การพัฒนาสิ่งที่รู้ แล้วทำให้ดีขึ้น เป็นเรื่องที่ทุกคนมีประสบการณ์…”

7. The real facts of Life การรับรู้ของเราแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

  1. รู้ว่า … “รู้อะไร”
  2. รู้ว่า … “ไม่รู้อะไร”
  3. ไม่รู้ว่า ​… “รู้อะไร”
  4. ไม่รู้ว่า … “ไม่รู้อะไร”

     การรับรู้ของ 2 กลุ่มแรก คือสถานการณ์ปกติที่เรารับรู้ว่ามีปัญหา และสามารถดำเนินการแก้ไขได้ด้วยการค้นคว้าวิจัย แต่ในสถานการณ์ 2 กลุ่มหลัง เป็นสิ่งที่อันตราย เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา ที่เรายังที่ต้องการคำตอบ การแก้ไข 2 กลุ่มหลังนี้ คือการพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะช่วยสะกิดเราว่าสิ่งไหนเป็นปัญหาที่ต้องการคำตอบ และช่วยส่งเสริมให้เราคิดหาทางแก้ไขปัญหานั้น และท้ายที่สุดจะทำให้เกิดประเด็น เกิดคำถาม และนำไปสู่การค้นคว้าวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหาคำตอบ 

8. ตัวอย่างเคล็ดลับการทำงานให้ประสบความสำเร็จของ อ.ประสิทธิ์ คือ 

  1. เขียนเป้าหมายออกมาให้เห็น ทุกครั้งที่เราเหนื่อยหรือหลงลืมไป เมื่อเรามองที่เราเขียนไว้ จะช่วยให้เรากลับมาสู้ และมุ่งมั่นอีกครั้ง
  2. ประกาศให้คนอื่นรับทราบ เป็นเหมือนการให้คำมั่นสัญญากับคนอื่นว่าเราจะทำสิ่งที่เราพูดให้ได้
  3. และสุดท้ายคือ มุ่งมั่นทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ

 

นพ. ศักดิธัช อิทธิพิสิฐ และ นศพ. นภัสสร ไกรวิศิษฏ์กุล ผู้ถอดความ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here