Synergy for 3P Safety (Patient-Personnel-People)

0
40336
Synergy for 3P Safety (Patient-Personnel-People)

Synergy for 3P Safety (Patient-Personnel-People)

“ขอเชิญชวนโรงพยาบาลการนำหลัก 3P Safety ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่มาตรฐานสากล”

วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 (มาตรฐาน HA ฉบับที่ 5) การขับเคลื่อน 2P Safety สู่ 3P Safety และการบูรณการ 3P Safety กับมาตรฐาน HA

เรียนรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 การรับรองคุณภาพสถานนพยาบาล หมายถึง การประเมินตนเอง (self-assessment) การประเมินจากหน่วยงานภายนอก ต้องมีมาตรฐาน (standard) ที่เข้าใจตรงกัน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญ ต้องลดความผิดพลาดทางการแพทย์ (medical error) และทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย เส้นทางการพัฒนามาตรฐาน HA ในปี 2539 ไทยเริ่มมี มาตรฐาน HA ฉบับที่ 1 ปัจจุบันพัฒนาเป็น มาตรฐาน HA ฉบับที่ 5 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศทั่วโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลครบทั้ง 3 ด้าน และ 1 ใน 5 ของประเทศในทวีปเอเชีย ที่ผ่านการรับรองจากองค์กรระดับสากล ISQuaEEA ครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์กร ได้รับการรับรองครั้งแรกในปี 2556 ด้านมาตรฐาน ได้รับการรับรองครั้งแรก ในปี 2559 โดยมีการประกาศรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (hospital and healthcare standard: HA) ฉบับที่ 5 ตาม Principles for the Development of Health and Social Care Standards เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2565 ซึ่งมาตรฐานฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 เป็นต้นมา ด้านกระบวนการพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจ ได้รับการรับรองครั้งแรกในปี 2559 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

มาตรฐาน HA ฉบับ 5 โครงร่างมาตรฐานคงเหมือนเดิมมีหลักคิดโครงสร้างที่สอดคล้องกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ มาตรฐานต้องมีสิ่งสำคัญ 3 ด้าน คือ ความปลอดภัยของผู้ป่วย การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเน้นคนเป็นศูนย์กลาง จุดเด่นของมาตรฐาน HA ฉบับ 5 มีเป้าหมายมุ่งสู่การรับรองที่ทันสมัย (modernizing accreditation) ภายในปี ค.ศ.2030 มาตรฐาน คือ องค์ความรู้ (knowledge) เป้าหมายสำคัญของการรับรองคุณภาพ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมองค์กรให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ (learning culture) ทำให้เกิดความปลอดภัย โดยเน้นมาตรฐานสำคัญจำเป็น 9 ข้อ วางระบบแนวทางป้องกันความเสี่ยง หากเกิดความผิดพลาดต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ แก้ไขและพัฒนา

การขับเคลื่อนมาตรฐานสู่การปฏิบัติ (HA standard implementation) สรพ.ได้ทบทวนการเขียนแบบรายงานประเมินตนเอง (self-assessment report: SAR) โดยมีแนวคิดเปลี่ยนจากการเขียนแบบรายงานประเมินตนเอง (self-assessment report) เป็นการเขียนแบบรายงานการพัฒนาตนเอง (self-assessment development: SAD)เพื่อทำให้กระบวนการพัฒนาคุณภาพถูกนำไปปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวันและทำได้ อย่างต่อเนื่อง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

การขับเคลื่อน 2P Safety สู่ 3P Safety ในปี 2539 องค์การอนามัยโลกได้ Integrate Quality and Safety In Hospital ในปี 2556-2558 Engagement for Patient Safety Program ไทยเริ่มดำเนินการ
ในหน่วยงานเสี่ยงสูง ER OR LR และ ICU เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community of practice: CoP)
ต้องขับเคลื่อนด้วย Knowledge -Patient -Policy เป็นสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ทำ Patient for Patient Safety Policy

ในปี 2559 Country Self-assessment for Patient Safety พบว่า ไทยไม่มีระบบรายงานระดับประเทศ ประชาชนรู้เรื่อง Patient Safety น้อยมาก ในปี 2560-2561 National Committee National Standard and Goals ไทยประกาศนโยบาย 2P Safety กำหนดเป้าหมายความปลอดภัย (2P safety goals) เริ่มมีระบบการรายงานและเรียนรู้ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับประเทศ (national reporting and learning system: NRLS) ประชาชนมีส่วนร่วมกับนโยบายความปลอดภัยเกิด SIMPLE 2P Safety

ในปี 2561 ขับเคลื่อน 2P Safety Hospital and World Patient Safety Day ในปี 2564 Integrate
อยู่ในมาตรฐานสำคัญจำเป็น 9 ข้อ  และจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การขับเคลื่อน มุ่งไปที่ความปลอดภัย
ของบุคลากร (healthcare worker safety) มากขึ้นและมีผู้ป่วยกระจายอยู่ใน Home Isolation มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อในชุมชน นำไปสู่การขับเคลื่อนสู่เป้าหมายทำอย่างไรให้ประชาชนเกิดความปลอดภัย หรือ People Safety  

3P Safety คือ Preventable Harm การขยับจาก 2P Safety ไปสู่ 3P Safety ต้องขยับด้วย พลังสังคม”

Patient Safety คือ การไม่มีอันตรายที่ป้องกันได้ต่อผู้ป่วยในระหว่างขั้นตอนการดูแลสุขภาพ (process of health care) Personnel Safety คือ การไม่มีอันตรายที่ป้องกันได้ต่อบุคลากรในระหว่างขั้นตอนการทำงาน (process of work) People Safety คือ การไม่มีอันตรายที่ป้องกันได้ต่อผู้คนจากระบบการรักษาพยาบาลและระบบสุขภาพ

การขับเคลื่อน Global Patient Safety  Action Plan 2021-2030 มีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ 7 ข้อ ได้แก่ 1)นโยบายอันตรายที่ป้องกันได้ต่อผู้ป่วยเป็นศูนย์ 2) มีระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง 3) ความปลอดภัยของกระบวนการทางคลินิก 4) ความผูกพันของผู้ป่วยและครอบครัว 5) การศึกษา ทักษะ และความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุข 6) ข้อมูล การวิจัย และการบริหารความเสี่ยง และ 7) การผนึกกำลังทำงานร่วมกัน ความเป็นหุ้นส่วน และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน


สำหรับประเทศไทย ได้ทำ Country Self-assessment และมี(ร่าง) ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข ระยะที่ 2 (พ.ศ.2565-2568) ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งสู่ 3P Safety

การบูรณาการ 3P Safety กับ มาตรฐาน HA ฉบับ 5 Patient, Personnel and People Safety ถูกฝังอยูในมาตรฐาน HA ทั้ง 4 ตอน ขอเชิญชวนโรงพยาบาลการนำหลัก 3P Safety ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่มาตรฐานสากล”

“ในมาตรฐาน HA…ทุกที่ที่มี Process of Care นั้นคือ Patient ส่วนผู้รับผลอื่นผลงานอื่นที่ไม่อยู่ใน Process of Care คือ People… People คือ People ในโรงพยาบาล ในชุมชนและสังคม ที่มีโอกาส Safety และไม่ Safety จากระบบบริการสุขภาพ”

ตอนที่ I ภาพรวมของการบริหารองค์กร                                                                                  I-1 การนำ มาตรฐานเน้นให้การขับเคลื่อนเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยอยู่ในระดับการนำองค์กรและผู้นำระดับสูงสนับสนุนรวมถึงเน้นให้มีระบบกำกับทางคลินิกมาตรฐานตอนที่ I-1.1 ค.(3) การสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย ลำดับความสำคัญ ส่งเสริมวัฒนธรรม ทบทวนกำกับติดตามมาตรฐานตอนที่ I-1.2 ก.(3) ระบบกำกับดูแลทางคลินิก  I-1.2 ข.(1) การปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย ผลกระทบต่อสังคม ความกังวลต่อสาธารณะ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ I-1.2 ค.(1) องค์กรมีส่วนทำประโยชน์ให้สังคม (2) พัฒนาความเข้มแข็งให้ชุมชนสำคัญ  องค์กรมระบบกำกับดูแลกิจการที่ดีและทำประโยชน์ให้สังคม                                                     I-2 กลยุทธ์ กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพโรงพยาบาลทำมากกว่ารักษาโรคคือทำในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วย                                                           I-3 ผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน การรับฟังผู้ป่วยและผู้รับผลงาน สิทธิผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีความต้องการเฉพาะ ผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง ผู้ได้รับผลกระทบจากการดูแลตามกฎหมาย                                                                       I-5 บุคลากร การสนับสนุนและสวัสดิภาพ การเข้าถึงสิ่งจำเป็นในการทำงาน สวัสดิภาพและความปลอดภัย ชั่วโมงการทำงาน เพื่อให้บุคลากรมีสุขภาพดีอละปลอดภัย รวมพนักงานชั่วคราวและอาสาสมัครด้วย                             I-6.1 กระบวนการทำงาน การออกแบบระบบบริการ การออกแบบกระบวนงาน การควบคุมกระบวนการ ความท้าทายความเสี่ยงคาดการณ์และเตรียมพร้อมตอบสนองต่อสถานการณ์ Incident Management ไปสู่ Risk Management

3 ระบบที่ซ้อนกันอยู่เพื่อความปลอดภัย ได้แก่ High Reliability Organization, Work Process Management และRisk Management System

ตอนที่ II ระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล                                                                             II-1.2 ระบบบริหารความเสี่ยง การจัดการประเด็นความปลอดภัยที่สำคัญ กลยุทธ์ความปลอดภัยที่มีหลักฐานอ้างอิง โปรแกรมตรวจสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร อาคารสถานที่ พื้นที่ใช้สอย อุปกรณ์ เครื่องมือ ยาและวัสดุ ครุภัณฑ์ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ เวชระเบียนและข้อมูลของผู้ป่วย “การบริหารความเสี่ยง การจัดการอุบัติการณ์ที่ได้ผล นำมาซึ่ง 3P Safety”

People Safety Goals ประกอบด้วย

S: Social Responsibility andSocial Communication

I: Infection prevention, Information security, People Health Record

M: Mental Support and Motivation

P: Promotion and Prevention of Health, Customer Protection, Product safety

L: Lane (Road Safety) and Legal

E: Exercise and Environment Safety

II-3 สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย ได้แก่ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ ความปลอดภัยจากอัคคีภัย วัตถุและของเสียอันตราย เครื่องมือและระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ) สรพ. จะประเมินสิ่งแวดล้อมก่อนการเข้าประเมินรับรอง HA

II-4 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มุ่งเน้นที่ HAI ซึ่งเป็นอันตรายที่ป้องกันได้

II-6.1 การกำกับดูแลด้านยาและสิ่งแวดล้อมสนับสนุน การป้องกัน ME/ADE การปฏิบัติการใช้ยาการส่งยาทางไกล เป็นต้น

II-7.1 บริการรังสีวิทยา/ภาพทางการแพทย์ การป้องกันอันตรายจากรังสี

II-7.2 บริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์/พยาธิวิทยาคลินิก การบริหารคุณภาพและความปลอดภัย

ตอนที่ III กระบวนการดูแลผู้ป่วย “สิ่งสำคัญ คือ การป้องกันความเสี่ยงทางคลินิก  Safety 1 คือ Unsafe Act เกิดอุบัติการณ์แล้วนำมาทบทวนหาทางป้องกัน Safety 2 คือ Appropriate Act ทำเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดอยู่ในมาตรฐาน ตอนที่ 3”                                                                         III-1 การเข้าถึงและเข้ารับบริการ เริ่มตั้งแต่ ER จำนวนชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสมเป็น Appropriate Act         III-2 การประเมินผู้ป่วย Appropriate Act คือ การประเมินความเสี่ยง ที่จะเกิดจากกระบวนการรักษา ลดความผิดพลาดในการวินิจฉัย                                                                                                         III-3 การวางแผน วางแผนป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดยให้ผู้ป่วยและครอบครัวร่วมตัดสินใจ                 III-4 การวางแผนจำหน่าย ตระหนักถึงโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ตอบสนองด้านจิตวิญญาณ
III-4.2 กำหนดกลุ่มผู้ป่วย บริการหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง                                                                 III-4.3 การดูแลเฉพาะกลไกกำกับมาตรฐานและความปลอดภัย                                                         III-6 การดูแลต่อเนื่อง การจำหน่าย ติดตามและดูแลตามนัด เวชระเบียนที่เอื้อต่อการดูแลต่อเนื่อง

โดยเฉพาะการแพทย์ทางไกล การส่งต่อผู้ป่วย ทบทวนอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในการส่งต่อผู้ป่วย

ตอนที่ IV ผลลัพธ์ องค์กรแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานที่ดีและการปรับปรุงในประเด็นสำคัญ ได้แก่ ผลด้านการดูแลสุขภาพ/การดูแลทางคลินิก การสร้างเสริมสุขภาพ ผลด้านการมุ่งเน้น  ผู้ป่วยและผู้รับผลงานอื่น ผลด้านบุคลากร ผลด้านการนำและการกำกับดูแล ผลด้านประสิทธิผลของกระบวนการ และผลด้านการเงิน จะเห็นได้ว่ามาตรฐาน HA ฉบับ 5 นำ 3P Safety บรรจุไว้มาตรฐานทุกตอน  โดยเฉพาะการนำหลัก 3P Safety สู่การบริหารองค์กร ในมาตรฐานตอนที่ I การนำองค์กร โดยเพิ่มการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย การกำกับองค์กร กลยุทธ์ ผู้ป่วยและผู้รับผลงาน บุคลากรและกระบวนการทำงาน จุดเด่นของมาตรฐาน HA ฉบับ 5 คือ Modernizing Accreditation มาตรฐาน คือ องค์ความรู้ หรือ Knowledge เป้าหมายสำคัญของ Accreditation คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) และทำให้เกิดความปลอดภัย ในด้าน HA Standard Implementation “สรพ. มีแผนทำความเข้าใจกับโรงพยาบาล ปรับ Self-Assessment Report เป็น Self-Assessment Development เพื่อทำให้กระบวนการพัฒนาคุณภาพอยู่ในชีวิตประจำวัน และทำอย่างต่อเนื่องยั่งยืน” Safety จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ต้องมี Mindset, mindfulness และCulture …จาก 2P Safety สู่ 3P safety จาก Safety สู่ Healthy and Well-Being”

ผู้ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here