Synergy for Safety and Well-being “จากรากฐาน สานต่อ ก่อกาลไกล…สู่ก้าวไปด้วยกัน”

0
6767

หากจะเปรียบองค์กร สรพ. เหมือนร่างกายมนุษย์ ซึ่งอวัยวะสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ head, hand and heart เราจะสามารถสะท้อนภาพผู้นำที่เป็นเสาหลัก อันแสดงถึงความสำคัญของแต่ละอวัยวะได้ดังนี้

Head  – ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

ผู้นำด้านแนวคิดชาว HA ได้กล่าวถึงระบบการดูแลสุขภาพ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำไปปฏิบัติ และผู้ได้รับผล โดยมีเป้าหมายของการมี “สุขภาวะ” ที่ดี (well-being) ที่ไม่ใช่เพียง “สุขภาพ” ที่ดีเท่านั้น แต่ต้องประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบ คือ  Emotional,  Spiritual, Intellectual, Physical, Environmental, Financial, Occupational and Social ในมุมมองที่ใหญ่ขึ้นของประเทศไทย การมีสุขภาวะที่ดีนั้น ไม่ได้เกิดจากด้านสาธารณสุขอย่างเดียว แต่เกิดจากหลากหลายด้าน อาจจะแบ่งได้เป็น 9 ส สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา สัตว์ สัมมาชีพ สังคม ศาสนา ที่สัมพันธ์กันกับสุขภาวะ โดยต้องอาศัยความร่วมมือขององค์กรจากหลายภาคส่วน เพื่อก่อการไกล สู่การก้าวไปด้วยกัน

Hand – พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ

ผู้นำด้านปฏิบัติงาน ก็คือ ผอ. สรพ. โดยในปีนี้ยุทธศาสตร์ของสรพ.จะมีการพัฒนาในทุกระดับตามแนวคิด “ก่อการไกล” ทั้งในระดับพื้นที่ โดย สรพ.กำลังพัฒนา Quality Management Representative (QMR) expert ในแต่ละรพ. และในระดับ Global ที่ได้มีโอกาสนำแนวทางของประเทศไทยไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประชาคมนานาชาติ และนำเอาประเด็นที่สนใจมาปรับประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย เช่น

  • เป้าหมายของการประกันคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น หลังการเข้าไปของ surveyor ก็มีการประชุมกันเองปรับกันเอง
  • การทำงานประกันคุณภาพภายใต้ evidenced-based มีการประเมิน outcomes และ safety ที่เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และคำนึงถึง person-centered care

แต่การทำงานจะปราศจากพลังใจไม่ได้ ซึ่งเราจะได้รับการเติมพลังใจจาก ศ.เกียรติคุณ นพ. ประเวศ วะสี ในส่วนต่อไป

Heart – ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี

“ชีวิตคนประดุจฟ้า ความปลอดภัย และสุขภาวะคือสิ่งสูงสุด”

ชาว HA ต้องมีลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ

  1. มีหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์
  2. การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง [Interactive Learning Through Action: ILTA]

วิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เราปรับตัวให้ทุกที่เป็นสถานพยาบาลไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงเรียน หรือโรงแรม ดังนั้น จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของคุณภาพสถานพยาบาลที่ต้องครอบคลุมทุกภาคส่วน

ควรคิดเป็นองค์รวมเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะที่สมบูรณ์ของคนไทยทั้งแผ่นดิน นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของประเทศไทย ทำให้ประเทศมีบูรณภาพและดุลยภาพ

ตามที่ WHO ให้คำจำกัดความของสุขภาพ “Health is complete well being physically, mentally, socially (and spiritually)”

“Health is totally integral in all human and social development”

ตามกฎบัตรออตตาวา สุขภาวะประกอบด้วย

  1. พฤติกรรมสุขภาพ
  2. สิ่วแวดล้อมที่ดี
  3. ชุมชนเข้มแข็ง
  4. ระบบบริการสุขภาพดี
  5. นโยบายสาธารณะดี

ระบบบริการสุขภาพดี ต้องทั่วถึงเป็นธรรม มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ จากการผสานความร่วมมือของคณะมนตรีสุขภาพทั้ง 8 (สธ. สปสช. สวรส. สช. สสส. สรพ. สพฉ. มสช.) เป็นฟันเฟืองหลัก โดยมีพื้นที่เป็นตัวตั้ง พัฒนาอย่างบูรณาการทั้งแปดมิติ คือเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การศึกษา และประชาธิปไตยเพื่อให้เกิดการบูรณาการระบบสุภาพ เป็นระบบที่สำคัญและมีประสิทธิภาพของประเทศไทย

ดังนั้นแล้ว  ด้วยการนำ (head) กระบวนการ (hand) และความมุ่งมั่นตั้งใจที่ดี (heart) เราเชื่อว่า ชาว สรพ และทีมบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนจะสามารถผนึกกำลังเพื่อขับเคลื่อนความปลอดภัย และสุขภาวะของประชาชนไทยได้เป็นแน่แท้

ไตรสิทธิ์ ภูวเตชะหิรัณย์ และ ศักดิธัช อิทธิพิสิฐ

ผู้เรียบเรียง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here