The future and challenge of facilities management in hospital
ปัญหาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่พบในเรื่องของการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล คือ ผังโครงสร้างโรงพยาบาลไม่ได้ถูกออกแบบให้ครอบคลุมการใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่แรก ทำให้การปรับเปลี่ยน function การทำงานต่างๆ เป็นไปได้ค่อนข้างยาก การจัดการในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประสบปัญหาในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล จากข้อจำกัดหลายประการ คือ
- ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ติดกับวังศุโขทัย มีข้อกฎหมายตีกรอบค่อนข้างมาก
- เป็นโรงพยาบาลเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมแบบเก่า ตัวอาคารไม่ได้รับการวางผังเรื่อง facilities มาตั้งแต่แรก
- วาระของผู้บริหารระดับสูงมีแค่ 4 ปี ทำให้โครงการระยะยาวขาดความต่อเนื่อง
ทางคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จึงได้เริ่มทำการปรับปรุง สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล ให้รองรับความต้องการรับบริการของประชาชนในเขตเมืองมากที่สุด ดังนี้
- จัดทำ Master plan ระยะยาว 8-10 ปี
- วางแผน zoning โดยแยกตามประเภทของงาน แบ่งออกเป็น
- ส่วนพื้นที่การศึกษา แยกออกไปอยู่นอกพื้นที่โรงพยาบาล เพื่อลดความแออัด
- ส่วนพื้นที่ระบบงานสนับสนุน เช่น
- งานเวชภัณฑ์กลาง แยกออกเป็นสัดส่วน
- อาคารสถานีย่อยไฟฟ้าสร้างเป็นอาคารเฉพาะ 4 ชั้น เพื่อจ่ายกระแสไฟให้หน่วยบริการอย่างเพียงพอ
- อาคารหอพักมีทั้ง ปรับปรุงหอพักที่อยู่ภายในพื้นที่โรงพยาบาลและสร้างหอพักพื้นที่นอกโรงพยาบาล
- อาคารบำบัดน้ำเสีย สร้างเป็นอาคารเฉพาะ
- ส่วนให้บริการภายในโรงพยาบาล จัดทำเป็นอาคารสูงและใช้ประโยชน์จากชั้นใต้ดินให้มากที่สุด อาคารหอผู้ป่วยปรับจาก ward รวม 32 เตียง แบ่งเป็น 4 เตียงต่อ 1 unit เพิ่มความเป็นสัดส่วนและลดการปนเปื้อน
- ส่วนให้บริการที่สอดคล้องกับบริการหลัก อยู่นอกพื้นที่ส่วนกลาง โดยกระจายออกไปในเขตชานเมือง
- เชิญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมวางแผน เช่น
- สำนักงานที่ดิน การไฟฟ้า การประปา ทำให้การวางแผนก่อสร้างทำได้รัดกุมมากขึ้น
- สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทำให้สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ตามแผน
- สำนักพระราชวัง ขอพระราชทานนาม อาคารพัชรกิตติยาภา และอาคารทีปังกรรัศมีโชติ
- เชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการออกแบบอาคาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วย BI เช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจผู้ป่วยนอก จำนวนรถของบุคลากร
- ปรับแนวคิดการสร้างตึกเปล่าเหมือนในอดีต แต่พิจารณาถึงโครงสร้างต่างๆ รวมทั้งครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จะต้องใช้ภายในอาคาร เพื่อลดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในภายหลัง
- จัดทำโครงการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง (FPRI)
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล
- มีแผนการทำงานที่ชัดเจน
- Leadership, engagement, strategy
- ปรับ mind set ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย ประสบปัญหาในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาลในประเด็นสำคัญ คือ
- อาคารโรงพยาบาลเป็นสถาปัตยกรรมแบบเก่า อาคารหลายหลังเป็นอาคารที่ได้รับบริจาค
- เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆ ในภาคเหนือ ทำให้ญาติผู้ป่วยที่เดินทางมาพร้อมกับผู้ป่วย ไม่มีที่พักในระหว่างที่ผู้ป่วยรับการรักษาตัว
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล ให้รองรับความต้องการรับบริการของประชาชนและสอดคล้องกับบริบทของการเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาค ดังนี้
- จัดทำ Master plan ระยะยาว ทำกลยุทธ์การพัฒนาและปรับปรุง กำหนดเป้าหมาย และสื่อสารกับบุคลากรให้ชัดเจน
- บริหารจัดการด้วยข้อมูลและองค์ความรู้สำคัญ ในการปรับปรุงระบบ
- ใช้ engagement ของบุคลากรและประชาชนในพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้น เช่น
- กิจกรรมรวมพลังทาสีรั้วรอบโรงพยาบาล ทำให้เสร็จเร็วขึ้นและสร้างความเป็นเจ้าของให้บุคลากรทุกคน
- ระดมทุนจากประชาชน เพื่อปรับปรุงอาคารหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ให้ตอบสนองต่อการใช้งานมากขึ้น
- ปรับปรุงโดยใช้หลักความสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาล เช่น
- สร้างอาคารบ้านพักญาติผู้ป่วย เพื่อให้ญาติผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางไปกลับได้พักอาศัยภายในโรงพยาบาล
- ปรับปรุงตึกสงฆ์อาพาธ ให้เป็นโรงพยาบาลสงฆ์ แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
- ปรับปรุงเตาเผาขยะโดยความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น
- ปรับปรุงแผนกฉุกเฉินให้เป็น Modern digital emergency department
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล
- มี Leadership visionary และ strategy ที่ชัดเจน
- จัดทำ Master plan ด้วย data, knowledge, community, partner
- ปรับปรุงตามมาตรฐานและทำให้สอดคล้องกับบริบท ทำน้อยให้ได้มาก
- พลัง engagement ของบุคลากร
- การบริหารจัดการ Financial support ประหยัดที่สุด
- เชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามาให้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อออกแบบให้ตอบสนองต่อ pain point ทั้งของลูกค้าและคนทำงาน
- กำหนด timeline ที่ชัดเจน
- บริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างการปรับปรุง โดยพิจารณาประโยชน์ที่จะได้กับลูกค้า ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีอำนาจเข้ามาช่วยตัดสิน เพื่อให้โครงการดำเนินต่อเนื่อง
ความท้าทายต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของทั้ง 2 องค์กร ความท้าทายที่สำคัญของการจัดการระบบสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล คือ การจัดการหลังจากสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลาย มีประเด็นพิจารณา คือ 1.
การปรับระบบสิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับ new normal ระบบ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้อยู่ในขณะนี้
ต้องสามารถใช้ต่อไปได้ 2.พิจารณาเรื่องการทำ Tele-medicine เข้ามาใช้ในการให้บริการ 3.ส่งเสริมทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy ให้มากขึ้น
ผู้ถอดบทเรียน จุฑาธิป อินทรเรืองศรี ผู้จัดการแผนกบริหารคุณภาพ โรงพยาบาลนมะรักษ์
เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็ง ขนาดเล็ก
ภาพถ่ายโดย Clem Onojeghuo จาก Pexels