The Quality Futurist: 3P-Safety for Better Healthcare System

0
4309
The Quality Futurist: 3P-Safety for Better Healthcare System

สนุกกับทุกเรื่องที่ท้าทาย หาความหมายชีวิตจากอุปสรรคและปัญหา เชื่อเถอะว่าเราจะทำมันได้

3P-Safety for Better Healthcare System ระบบบริการสุขภาพไม่ใช่แค่การเข้าถึงต้องรวม Quality and Safety ถึงจะมี Healthcare result ที่ดี ในปี 2559 Country Self-assessment for Patient Safety
พบว่า ไทยไม่มีระบบรายงานระดับประเทศ ประชาชนรู้เรื่อง Patient Safety น้อยมาก

ปี พ.ศ.2561-2564 มีการนำเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย และบุคลากรระดับประเทศ หรือ National Patient and personnel safety Goal ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ผ่านโครงการ  2P Safety Hospital พัฒนาระบบการรายงานอุบัติการณ์และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ผ่านระบบ National Reporting and Learning System (NRLS) ตามทิศทางองค์กรอนามัยโลก มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาระบบเพื่อความปลอดภัยประชาชนมีส่วนร่วมกับนโยบายความปลอดภัยเกิด SIMPLE 2P Safety ภายใต้การพัฒนาและขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยในประเทศไทยสอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนขององค์กรอนามัยโลก โดยบูรณาการเข้ากับกระบวนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล

ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศว่า ประเทศไทยจะก้าวไปสู่สุขภาพและความปลอดภัยของทุกคนเป็น Patient, Personal and People safety หรือ 3P safety โดยจะบูรณาการขับเคลื่อนร่วมกับ Global Patient Safety Action 2021-2030 3P Safety คือ Preventable Harm การขยับจาก 2P Safety ไปสู่ 3P Safety

Patient Safety คือ การไม่มีอันตรายที่ป้องกันได้ต่อผู้ป่วยในระหว่างขั้นตอนการดูแลสุขภาพ (process of health care)
Personnel Safety คือการไม่มีอันตรายที่ป้องกันได้ต่อบุคลากรในระหว่างขั้นตอนการทำงาน (process of work)
People Safety คือ เป้าหมายความปลอดภัยของประชาชน ที่จะขับเคลื่อนร่วมกันกับเป้าหมายของผู้ป่วยและบุคลากร หรือ 2P Safety เป็น Patient Personnel and People Safety เป็น 3P Safety
People
คือ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสุขภาพ หรือ ระบบสุขภาพ เช่น ญาติ หรือผู้ที่เข้ามารับบริการ ประสาน ติดต่อกับสถานพยาบาล และประชาชนในพื้นที่หรือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

เป้าหมายความปลอดภัยของประชาชนตาม SIMPLE ตามมาตรฐาน HA ฉบับ 5 3P Safety Goals

        SIMPLE        People Safety Goals      มาตรฐาน HA ฉบับ 5  
S: Social Responsibility S1: Social Responsibility ตอนที่ I ภาพรวมของการบริหารองค์กร
S2: Environment Protection II-3 สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน (Environment of Care)

  • บำบัดน้ำเสีย
  • กำจัดขยะ
  • การใช้ คาร์บอน
  • PM2.5
S3: Survillance of diseases and Health Hazard Surveillance II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (Disease and Health Hazard Surveillance)
S4: Community Empowerment for Strengthen Healthcare System II-9 การทำงานกับชุมชน (Working with Communities)
I:Information System Management I1: Information Privacy and Security I-4.2 การจัดการสารสนเทศและการจัดการความรู้ (Information and Knowledge Management)
I2: Medical Record Safety and security
I3: Information Visualization, Dissemination and Alert
M:Medication and Product Safety M1: Medication Safety (RDU and tele pharmacy) II-6 ระบบการจัดการด้านยา (Medication Management System)
M2: Health Food and Product Safety II-9.2 การเสริมพลังชุมชน (Community Empowerment)
P:Process strengthening for Health Promotion and People Safety P1: Strategy And Plan of Action on Health Promotion I-2 กลยุทธ์ (Strategy

Health Promotion

P2: Promotion of Health in Hospital and community III-5 การให้ข้อมูลและการเสริมพลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว (Information Provision and Empowerment for Patients/Families)
P3: Process to Improve People Safety

P3.1: Infection Prevention and Control

P3.2: Physical Environment and Safety

P3.3: Health Literacy for People Safety

P3.4: Psychological Safety

 

II-4.2 การปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ (Infection Prevention Practices)

II-3.1 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย (Physical Environment and Safety)

 

L:Legislation /regulation and Rules L1: Compliances of the Legislation /regulation and Rules I-1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการทำประโยชน์ให้สังคม7 (Governance and Societal Contributions)

ข. การปฏิบัติตามกฎหมายและพฤติกรรมที่มีจริยธรรม (Legal and Ethical Behavior)

E:Emergency response E1: Emergemcy Preparedness for Any Disasters III-1 การเข้าถึงและเข้ารับบริการ (Access and Entry)
E2: Enhancement of Pre-hospital Emergency Medical Service

 

3P-Safety กับ Better Healthcare result  กับมาตรฐาน HA ตอนที่ IV การข้าถึงการบริการที่ดี ต้องมี Result ที่ดีมีคุณภาพ และความปลอดภัย จะเห็นได้ว่ามาตรฐาน HA ฉบับ 5 นำ 3P Safety บรรจุไว้มาตรฐานทุกตอน  โดยเฉพาะการนำหลัก 3P Safety สู่การบริหารองค์กร

HA Scoring เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมิน maturity ของระบบคุณภาพ ในการพัฒนาโรงพยาบาลรวมถึงใช้ประโยชน์จากมาตรฐาน HA ในการยกระดับการพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดังนั้น กำหนด Healthcare result เป็นเป้าหมายในการพัฒนาร่วมกัน วางระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย เพื่อยกระดับ 3P-Safety for Better Healthcare System จะดีแค่ไหนถ้าผู้เข้ามารักษาเข้ามารับบริการ เกิดความปลอดภัยโดยที่มองเห็นว่าสิ่งที่เรากำลังทำ ไม่ได้ทำเพื่อใบประกาศและใบรับรอง แต่ทำเพื่อให้เกิดระบบ และเกิดความปลอดภัยต่อทุกคน

   It seems Impossible until it that ไม่มีอะไรในโลกที่ทำไม่ได้

ผู้ถอดบทเรียน นางสาวปุณณ์ยวิภา ทวีโชคธนะพงศ์
หัวหน้าแผนกหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลซีจีเอช

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here