เทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ ทำให้คนทำงานรู้สึกมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจและมั่นใจ ในตนเองมากขึ้น” ภญ.นริสา ตัณฑัยย์
การบริการจัดแจกยาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของแต่ละโรงพยาบาล มีแนวโน้มที่จะต้องให้บริการสูงขึ้นทุกๆ ปี ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานมีจำนวนจำกัด ส่งผลอัตราความคลาดเคลื่อนทางยาและความล่าช้าในการให้บริการที่มีเปอร์เซ็นต์สูงในแต่ละปี เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ของโรงพยาบาล 2 แห่ง ในการนำเครื่องจัดยาอัตโนมัติมาใช้ในการให้บริการยา ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราชใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติในการบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติในการบริการผู้ป่วยใน เพื่อเพิ่มความถูกต้อง ความปลอดภัย และความรวดเร็วในการให้บริการโดยมีการศึกษา วิเคราะห์ระบบการทำงานที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล มีการออกแบบระบบการจัดยาอัตโนมัติแบบครบวงจรอย่างรัดกุม ลดความผิดพลาด ลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาต้นทุนเพื่อดูความคุ้มค่าและงบประมาณที่เปลี่ยนแปลง ของการให้บริการโดยใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติเปรียบเทียบกับการทำงานในปัจจุบัน
ภญ.นริสา ตัณฑัยย์ โรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากภาระงานที่ห้องยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราชต้องจัดจ่ายยาจากใบสั่งยาปีละหนึ่งล้านกว่าใบ ถือเป็นภาระงานที่หนักต่อเจ้าหน้าที่ จึงใช้แนวคิดแบบลีน (Lean concept – การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากความสูญเปล่า) ซึ่งทำให้สถิติความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง ลดระยะเวลารอคอยลงได้บ้าง แต่พบว่าในกระบวนการจัดยาในหน่วยงานเภสัชกรรม (Pre – dispensing error) ยังมีความคลาดเคลื่อนมาก และเพื่อลด Pre – dispensing error จึงเริ่มนำนวัตกรรมหุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติมาใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2562 ที่อาคารนวมินทร์ฯ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรองรับผู้ป่วยอายุรศาสตร์ 2 ล้านรายต่อปี ในกลุ่มยาที่จ่ายบ่อย โดยให้เภสัชกรทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยา สแกนใบสั่งยา และตรวจสอบยาก่อนจ่ายให้ผู้ป่วย
หลักการในการใช้หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติ แผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกอาคารนวมินทร์ฯ โรงพยาบาลศิริราช
- มี Dashboard (การนำข้อมูลใน report ทั้งหมดมาสรุปให้เห็นภาพของงานโดยรวมในภาพเดียว) เพื่อให้รู้ว่าพื้นที่ไหนมีปริมาณงานมาก จะได้มีการบริหารจัดการบุคลากรไปช่วยตรงพื้นที่นั้น
- มีห้องสำหรับบรรจุยาใหม่ (repackage) เตรียมยาก่อนที่จะจ่ายออก เป็นกระบวนการสำคัญ QC ทั้งกระบวนการ
เภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบ ไม่ให้มีการสลับยา ป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา
- คนไข้สามารถตรวจสอบคิวใบยาด้วยตนเอง ที่หน้าจอจากเครื่องที่ติดตั้งไว้หน้าห้องยา
- เกณฑ์การคัดเลือกยาเข้า Box dispenser ทุก package จะต้องมี Barcode หรือ QR code
ผลลัพธ์การดำเนินการ
- แนวโน้ม Pre dispensing error ลดลง ให้บริการจำนวนใบยาในแต่ละวันเพิ่มขึ้น
- ใช้จำนวนบุคลากรน้อยลง (เภสัชกร และ ผู้ช่วยเภสัช) แบ่งสัดส่วนจำนวนคนตามช่วงเวลา
- ลดระยะเวลารอคอยคลินิกผู้ป่วยนอกเหลือ 34 นาที ผู้ป่วยคลินิกพิเศษมีระยะเวลารอคอยเหลือเพียง 19 นาที (เป้าหมายน้อยกว่า 35 นาที) บรรลุเป้าหมายคลินิกผู้ป่วยนอกคิดเป็นร้อยละ 64, คลินิกพิเศษคิดเป็นร้อยละ 95
- เพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ปัญหาที่พบ กรณีเมื่อเกิดเครื่องเสีย อะไหล่เสีย ใช้เวลาในการรอซ่อมนานเป็นเดือน เนื่องจากบริษัทอยู่ที่ประเทศจีน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
- การใช้ Barcode ลด Med error ลงได้
- มีการเรียนรู้ ออกแบบ ปรับปรุง พัฒนาตลอดเวลา
- มีการทำงานเป็นทีมจนประสบความสำเร็จเกิดความภาคภูมิใจ
ภก. เอกนันท์ กีรติศรัณย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เริ่มใช้ระบบหุ่นยนต์จัดยาในการจ่ายยาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2551 ซึ่งในขณะนั้นการสั่งยาของแพทย์ยังใช้ใบสั่งยา มีการบริหารยาโดยพยาบาล พบว่าสถิติความคลาดเคลื่อนทางยายังสูงอยู่ (20:100,000) เปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการพัฒนาศักยภาพของหุ่นยนต์จัดยาให้เป็นระบบที่ค่อนข้างเสถียร มีหน่วยผสมยาปราศจากเชื้อเพื่อให้หน่วยงานพร้อมใช้ยา เภสัชกรดูหน้าจอคอมพิวเตอร์สามารถปรึกษาแพทย์โดยตรง มีเภสัชกรเฉพาะทางเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเฉพาะรายที่เป็นชาวต่างชาติ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้รับการรับรองการพัฒนาคุณภาพระบบ JCI ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 พบว่าสถิติความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงเหลือ 0.3:100,000 คิดเป็นร้อยละ 70
หลักการในการใช้หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติ แผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- มีระบบจัดยา PillPick system มีลักษณะการจัดยาเฉพาะมื้อ เพื่อจ่ายยาให้หน่วยงานพร้อมใช้ ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการนี้มาก ตรวจสอบโดยเภสัชกรอย่างเข้มข้น การเก็บยาจะเก็บเป็นซอง อยู่ในอุณหูมิห้อง
- ใช้ Medication ring ซึ่งเป็นลักษณะการร้อยซองยาไว้ด้วยกันสำหรับผู้ป่วย 1 ราย
- มีท่อลม (pneumatic tube) ส่งกระบอกยาตรงไปที่หน่วยงานใช้ยาได้โดยตรง ลดระยะเวลารอคอย (waiting time)
- Barcode medication administration ยาทุกรายการจะต้องมี Barcode หรือ QR code
ผลลัพธ์การดำเนินการ
- ลดความคลาดเคลื่อนทางยา Administration error (extra dose ,wrong drug , wrong dose) ลงได้มาก
- ผู้ป่วยปลอดภัย คนทำงานมีความสุขมากขึ้น
ปัญหาที่พบ
- กรณีเมื่อเกิดเครื่องเสีย อะไหล่เสีย ใช้เวลาในการรออะไหล่ซ่อมเป็นเดือน เนื่องจากบริษัทอยู่ที่ต่างประเทศ (สิงคโปร์)
- การลดกำลังคนมากไป เมื่อเกิดปัญหาหุ่นยนต์จัดยาเสีย คนไม่พอทำงาน
- การเก็บสต็อคยาไว้ในเครื่องมากเกินไป ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน ควรเก็บสต็อคยาเฉพาะในกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug – HAD) ซึ่งไม่ต้องใช้พื้นที่มากเกินไป
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
- เกิดการพัฒนาบุคลากร เภสัชกรเพื่มทักษะการทำงานด้านคลินิก เป็นเภสัชกรเฉพาะทางใน Board ต่างๆ (Staff and pharmacy services development)
ถอดบทเรียนโดย กาญจนา เสนะเปรม หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการพยาบาล โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ
ภาพถ่ายโดย Tara Winstead จาก Pexels