TMI พัฒนาระบบเทคโนโลยีโรงพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

0
7005
TMI พัฒนาระบบเทคโนโลยีโรงพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

TMI พัฒนาระบบเทคโนโลยีโรงพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

การพัฒนาคุณภาพโดยมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบ จะทำให้ระบบนั้นมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล

 เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กรมากขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้ในการวิเคราะห์แนวโน้ม ไม่เว้นแม้แต่ในระบบบริการสุขภาพ ซึ่งการเตรียมความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านยุทธศาสตร์ บุคลากร โครงสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี สมาคมเวชสารสนเทศไทย (Thailand Medical Informatics Association – TMI) ได้พัฒนามาตรฐาน Hospital IT Quality Improvement Framework (HITQF – HA IT) เพื่อช่วยให้สถานพยาบาลได้มีพื้นฐานและความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศไทยได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งระดับของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ได้เป็น 3 ระดับคือ

ระดับที่ 1 นำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานประจำวันของโรงพยาบาล เช่น การบันทึกข้อมูลในระบบเวชระเบียน ระบบการเงิน และต่อยอดการเติบโตทางธุรกิจ                                                                                    ระดับที่ 2 นำมาใช้ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล เช่น การพัฒนาคุณภาพการรักษา การลดค่าใช้จ่าย มีการติดต่อสื่อสารเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย                                                                          ระดับที่ 3 นำมาใช้เพื่อเข้าสู่ Digital Transformation โดยผู้ป่วยมีส่วนร่วม เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพใน การรักษาเกิดเป็น Hospital Digital Transformation

ในการพัฒนาคุณภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลนั้น มีเป้าหมายเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มที่โดยใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม และมีการจัดการความเสี่ยงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม (IT Governance)

TMI ได้ดำเนินการจัดทำกรอบการพัฒนาคุณภาพเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital IT Quality Improvement Framework – HITQIF) ซึ่งได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและพัฒนาจากมาตรฐานต่างๆ จนได้กรอบมาตรฐานที่เหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 7 ด้านคือ Data & Information (ข้อมูล), Structure & Role (โครงสร้าง), Metrics (การวัด), Process (กระบวนการ), Technology (การจัดระบบเทคโนโลยี), Control (การตรวจสอบและควบคุม), People (การจัดกำลังคน) ซึ่งแบ่งเกณฑ์คะแนนออกเป็น 4 ระดับ คือ        ระดับที่ 0 ยังไม่มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ                                                                                ระดับที่ 1 เริ่มมีกระบวนการการพัฒนา มีการค้นหาและจัดความเสี่ยงจนมั่นใจว่าระบบมีความมั่นคงปลอดภัย และมีการดำเนินงานที่ตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงพยาบาล                                                          ระดับที่ 2 โรงพยาบาลดำเนินการได้ตรงตาม Service Level Agreement (SLA) สามารถจัดการให้ระบบทำงานได้อย่างต่อเนื่องและกู้คืนระบบได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน                                                                  ระดับที่ 3 มีการควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานอยู่เสมอ สามารถค้นหาปัญหาและแก้ไขได้ มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง                                                                                                        ระดับที่ 4 ระบบสารสนเทศมีการดำเนินการที่เป็นเลิศในระดับประเทศ และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโรงพยาบาลไปสู่วิสัยทัศน์และพันธกิจ

ต่อมาได้จัดทำโครงการร่วมพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลเพื่อรับรองคุณภาพ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ทีมงานของโรงพยาบาลได้เรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพระบบสารสนเทศให้มั่นคง ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ใช้ระยะเวลาประมาณ 15-18 เดือนไปสู่การรับรองขั้นต้น โดยมีโรงพยาบาลนำร่องที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 10 โรงพยาบาล และมีการขยายผลไปสู่โรงพยาบาลต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนครอบคลุมทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2562 มีโรงพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐานระดับที่ 1 จำนวน 12 โรงพยาบาล ระดับที่ 2 จำนวน 10 โรงพยาบาล ระดับที่ 3 จำนวน 6 โรงพยาบาล

ในการประเมินตามมาตรฐานนั้น จะประเมินทั้งหมด 7 ด้าน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Maturity of Essential IT Improvement Activities) ได้แก่                                            1. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Master Plan) ควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล                                                                                                                        2. การจัดการความเสี่ยง (IT Risk Management) ควรทำให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดอันตรายต่อการข้อมูล และกระทบต่อการบริการ                                                                                                                    3. การจัดการความมั่นคงปลอดภัยพื้นฐาน (Basic Security Management)                                          4. การจัดการบริการและอุบัติการณ์ (IT Service and Incident Management) งานสารสนเทศสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล                                                                                5. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล (Data Quality Improvement)                                                        6. การวิเคราะห์ออกแบบระบบก่อนการเขียนโปรแกรม (System Analysis and Design)                            7. การจัดการศักยภาพและสมรรถนะ (IT Capacity and Competency Management) มั่นใจว่ามีทรัพยากรต่างๆ พอเพียงจัดการให้ประสิทธิภาพมากที่สุด

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี TMI พัฒนาระบบเทคโนโลยีโรงพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ถอดบทเรียน สุทธิพงศ์ คงชุม

ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (งานพัฒนาคุณภาพการบริการ) โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

Photo by Arseny Togulev on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here