TQA HA PMQA ความเหมือนและความต่าง ?
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA) เป็นเกณฑ์การประเมินที่องค์กรชั้นนำของประเทศ นำมาใช้เพื่อการปรับปรุงวิธีปฏิบัติอันนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันในระดับนานาชาติ TQA เป็นต้นแบบของเกณฑ์การประเมินองค์กรที่มีลักษณะจำเพาะ เช่น โรงพยาบาล (Hospital Accreditation : HA), รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA), การบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) การศึกษา (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) กรอบการประเมินของ TQA แบ่งเป็น 7 หมวด คือ 1) การนำองค์กร 2) กลยุทธ์ 3) ลูกค้า 4) การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5) บุคลากร 6) การปฏิบัติการ 7) ผลลัพธ์
HA ใช้เพื่อการพัฒนาและประเมินโรงพยาบาลทั้งองค์กร โดยสามารถใช้ได้ กับโรงพยาบาลทุกระดับ เกณฑ์ใน HA รวมหมวดที่ 1 ถึง 6 ของ TQA ไว้ในตอนที่ 1, ขยายรายละเอียดของหมวดที่ 6 (การปฏิบัติการ) ยกมาเป็นตอนที่ 2 (ระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล) และตอนที่ 3 (กระบวนการดูแลผู้ป่วย) และยกหมวดที่ 7 (ผลลัพธ์) เป็นตอนที่ 4 นอกจากนี้ HA ยังมีการเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นบริบทของโรงพยาบาลเข้ามาเป็นจำนวนมาก
PMQA ได้รับการพัฒนาโดยสำนักงาน ก.พ.ร. โดยเกณฑ์นี้ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ตนเองของหน่วยงานภาครัฐ กระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนพัฒนาองค์กร อันนำไปสู่การยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน ใน PMQA version 4.0 ได้เสริมแนวคิดของระบบราชการ 4.0 เข้าไปในเกณฑ์การประเมินด้วย โดยมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ สานพลังทุกส่วน (collaboration), สร้างนวัตกรรม (innovation) และปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (digitalization)
เราสามารถสรุปความคล้ายคลึงของเกณฑ์ TQA ปี 2563-2564 กับมาตรฐาน HA 4th edition และ PMQA 4.0 ตลอดจนรายละเอียดที่มีการขยายเพิ่มเติมในมาตรฐาน HA 4th edition และ PMQA 4.0 ได้ดังนี้