Upscale Knowledge Management and Innovation for Change

0
788
Upscale Knowledge Management and Innovation for Change

Upscale Knowledge Management and Innovation for Change

Changing/ growing from inside-transform to new life, Being changed from outside-become breakfast

แนวทางการยกระดับการจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามบริบทขององค์กร กรณีศึกษา 3 องค์กรใหญ่ที่นำไปประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทที่แตกต่างกัน

โรงพยาบาลศิริราช เริ่มต้นจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรที่เปลี่ยนแปลง (VUCA) และจากสถานการณ์ COVID-19 พบว่า ระบบสุขภาพไทยในอนาคตจะพบปัญหาผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มขึ้น ในปี 2575 จะมีกลุ่ม Aging
สูงถึง 29% ของประชากร จำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการรักษาและการใช้ทรัพยากรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากสถานการณ์ดังกล่าว องค์กรมองเห็นโอกาสจาก Megatrend in healthcare, การใช้ Open AI ร่วมกับการใช้แนวคิด Disruptive innovation, การเปลี่ยนจาก fixed mindset to growth mindset (Carol S. Dweck) ที่จะทำให้องค์กรเติบโตจาก Incremental mindset (10%)
เป็น Exponential mindset 10X Growth: Moonshots Thinking นำมาสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมกล้าล้มเหลวของ X (Astro Teller/ Captain of Moonshots) พนักงานกล้าที่จะล้มเหลวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากนั้นจึง set เป้าหมาย กำหนด Project สำคัญระดับองค์กรที่จะลงมือเปลี่ยนแปลง.

Model หลักที่ใช้ในการขับเคลื่อน คือ Value driven care model เป็นการผสมผสานแนวคิดการพัฒนาคุณภาพที่หลากหลาย ร่วมกับการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น เช่น การจัดตั้ง Siriraj Innovation Lab เพื่อให้เกิดการทดลองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ startup เพื่อให้สามารถนำผลผลิตที่เกิดจาก innovation lab ออกสู่ตลาดได้ในอนาคต

Upscale Knowledge Management and Innovation for Change

เครือโรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลเปาโล โรงพยาบาลเอกชน แม้จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสวงหากำไรเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันองค์กรยังต้องมองหาเครื่องมือพัฒนาที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนเพื่ออยู่ในตลาดการแข่งขันให้ยาวนานขึ้นด้วย สิ่งสำคัญที่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ คือ การจัดการความรู้ขององค์กรและนวัตกรรม องค์กรวิเคราะห์บริบท พบว่า สถานการณ์ COVID-19 เป็น good catalyst ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง องค์กรต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง องค์กรพิจารณามุมมองสำคัญ 4 ด้าน ที่จะช่วยยกระดับให้
การจัดการความรู้และนวัตกรรมนำไปสู่ความสำเร็จได้ คือ

  1. กำหนดให้อยู่ใน vision-mission-core value ขององค์กร
  2. ใช้ health trend and health technology ให้เกิดประโยชน์
  3. ใช้ customer experience
  4. สร้าง corporate business

การดำเนินการที่เครือโรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลเปาโล ได้จัดทำอย่างเป็นรูปแบบ คือ การสร้าง ecosystem ภายในให้เกิด innovation โดยการจัดตั้งการจัดตั้งหน่วยกลาง เพื่อร่วมผลักดันนวัตกรรม ทำให้เกิดโครงการนวัตกรรมของพนักงานที่หลากหลาย และได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้จริงในหลายโรงพยาบาล ได้แก่
1.CPRIA: Center of Private Research and Innovation Accelerator ศูนย์เร่งรัดวิจัยและนวัตกรรมเอกชน ให้บริการแก่บุคลากรและหน่วยงานในเครือโรงพยาบาลพญาไท–เปาโลเน้น การศึกษาความเป็นไปได้ในงานวิจัย (Feasibility Study) จัดหาผู้ช่วยวิจัยทุกระดับ ทั้งพยาบาลวิจัย เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์และผู้ประสานงานโครงการวิจัยที่เป็นโครงการวิจัยร่วมหลายสถาบัน (Multicenter study) ฝึกอบรมบุคลากรวิจัยให้มีความรู้และทักษะด้านการวิจัยทางคลินิก ตามมาตรฐานคุณภาพที่ดีของการวิจัยทางคลินิก (Good Clinical Research Practice, GCP) ประสานงานเรื่องทุนวิจัย 2.PIL: Phyathai-Paolo Innovation Lab มี 3 งานหลัก คือ innovation ecosystem, innovation development และ innovation commercialization ทำหน้าที่ขับเคลื่อนองค์กรให้มีความเป็นนวัตกรรม ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ ปรับ mind set ควบคู่กับการสร้างทักษะให้คนในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องสร้างนวัตกรรมขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการทำงาน ตลอดจนโมเดลธุรกิจใหม่ 3.CIL: Center of Interactive Learning ทำหน้าที่คล้ายกับการ digital transformation ด้านการเรียนรู้ โดยทำหน้าที่รวบรวมองค์ความรู้ในองค์กร และพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ (Sharing best practices) ปัจจุบันมีมากกว่า 700 หลักสูตรเพื่อตอกย้ำความสำเร็จของการยกระดับการจัดการความรู้และนวัตกรรม เครือโรงพยาบาลพญาไทและโรงพยาบาลเปาโล ได้รับรางวัล องค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประจำปี 2565 (รางวัลเกียรติคุณ ประเภทองค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่) จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เนื่องใน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” ในปีที่ผ่านมา

Upscale Knowledge Management and Innovation for Change

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการตามนโยบายพิเศษของรัฐ ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีวิสัยทัศน์เพื่อ “สร้างความเข้มแข็งให้ SMEs และชุมชนผ่านระบบนิเวศนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน” สถาบันฯ กำหนดให้การจัดการนวัตกรรมเป็น 1 ในกลุ่มงานหลักของโครงสร้างองค์กร คือ กลุ่มยุทธศาสตร์และการจัดการนวัตกรรม มีบทบาทในการกำหนดทิศทางองค์กร กลยุทธ์ และแผนงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับกระทรวงและระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ ติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยและผลงานวิจัยเป็นตัวชี้วัดประสิทธิผลขององค์กร มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ทางสังคมและเชิงพาณิชย์ จัดให้มีกิจกรรมทางการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนากลไกและระบบเพื่อสนับสนุนการใช้โครงสร้างพื้นฐานของ STI ด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ชุมชน และประชาชน นอกจากนี้ผลงานยังรวมถึงการศึกษาความต้องการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การประเมินความพร้อมของเทคโนโลยี แผนธุรกิจเทคโนโลยี การประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและผลกระทบทางเศรษฐกิจ

การดำเนินการด้านการจัดการความรู้ สถาบันฯ มีการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้ของสถาบันมาตั้งแต่ระดับคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและถ่ายทอดมายังหน่วยงาน โดยจัดทำเป็น โครงสร้างกระบวนการจัดการความรู้และนวัตกรรม (KM & IM blueprint) เพื่อกำกับทิศทางในการทำงาน ผู้บริหารสื่อสารภายในองค์กรด้วยรูปแบบต่างๆ ให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรที่สำคัญที่เอื้อต่อการจัดการความรู้และนวัตกรรม กลไกหลักของการเร่งให้เกิดนวัตกรรมเริ่มจาก ความต้องการของลูกค้า (voice of customer) เข้าสู่กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ได้ผลลัพธ์ออกมาใน 3 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้ (knowledge) ต้นแบบ (prototype) และผลิตภัณฑ์ (product) ทั้ง 3 อย่างนี้ จัดเป็น นวัตกรรม (innovation) ที่ตอบโจทย์ทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจ จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา จัดเก็บในคลังความรู้ของสถาบันและนำความรู้ที่ได้ไปสู้การจัดการความรู้เพื่อเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต กระบวนการจัดการความรู้จะนำไปสู่กระบวนการนวัตกรรม จากนั้นจะจัดเก็บองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนานวัตกรรม และนำไปเข้าสู่กระบวนการจัดการความรู้อีกครั้ง ดังนั้น การจัดการความรู้และนวัตกรรมจึงไม่สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดก่อนหรือหลัง แต่ะจะหมุนวนเป็น cycle ของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ทำให้การจัดการความรู้และนวัตกรรมประสบผลสำเร็จได้ คือ ในทุกๆกระบวนการต้องมีการประเมินผลกระบวนการ รวมทั้งประเมิน economic impact ของนวัตกรรมที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใดโดยใช้ balanced scorecard เป็นตัววัด

Upscale Knowledge Management and Innovation for Change

จากกรณีศึกษาทั้ง 3 องค์กร พบว่า จุดร่วมสำคัญที่ทำให้การยกระดับการจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงประสบความสำเร็จได้นั้น ประกอบด้วย 1.การวิเคราะห์บริบทขององค์กร กำหนดให้การจัดการความรู้และนวัตกรรม อยู่ในวิสัยทัศน์ พันธกิจและ core value ขององค์กร 2.มองหาโอกาส กำหนดเป้าหมายในการใช้การจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรให้ชัดเจน 3.กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ ชัดเจน นำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติโดยผู้นำระดับสูง 4.สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น 5.จัดการกระบวนการอย่างครบวงจร 6.ประเมินผลในทุกกระบวนการและผลลัพธ์สุดท้าย เพื่อนำมาปรับปรุงผลลัพธ์ที่ได้

ผู้ถอดบทเรียน จุฑาธิป อินทรเรืองศรี
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลนมะรักษ์ เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็ง ขนาดเล็ก

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here