พิธีกร
|
การนำแนวคิด lean มาพัฒนาระบบการคัดกรอง เพื่อเป็นการลดระยะเวลาการรอคอยพบแพทย์ผู้ป่วย ESI Level 3 ที่เข้ารับบริการที่ห้องตรวจ Urgent Care โครงการนี้มีการพัฒนาอย่างไรและบทเรียนที่ได้รับมีอะไรบ้าง เราไปพูดคุยกับเจ้าของโครงการชิ้นนี้กันเลยครับ |
พิธีกร | สวัสดีครับ โครงการลดระยะเวลาในการรอคอยพบแพทย์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นของขวัญของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยด้วย เป้าหมายของโครงการนี้เป็นอย่างไรครับอาจารย์ |
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
|
เป้าหมายคือเพิ่มจำนวนผู้ป่วย ESI Level 3 ให้ได้รับการพบแพทย์ภายใน 60 นาที |
พิธีกร | เพราะฉะนั่นหมายถึงโครงการนี้ก็ได้กำหนดระยะเวลาแล้วว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาหรือได้พบแพทย์ภายใน 60 นาที ก่อนหน้านี้เราพบเจอปัญหาอะไรที่เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เราปล่อยไม่ได้ล่ะ เราจะต้องมีการทำโครงการนี้เพื่อมาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนแล้ว |
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
|
คนไข้ปริมาณมากที่มารับบริการที่คลินิกนอกเวลาใช่ป่ะคะ ระยะเวลาในการรอคอยนานมาก แต่ประเภทของคนไข้ไม่เหมือนกัน คนไข้ที่เราตรวจที่ OPD ก็จะแบ่งเป็นเออเจน เซมิชเออเจน และก็นอลเออเจน มี 3 ประเภท แต่ว่าคนไข้ที่มีภาวะคงทีเนี้ยคะรอตรวจอยู่กับคนไข้เซมิชเออเจนและนอลเออเจนทำให้คนไข้ประเภทเนี้ยรอตรวจมีอาการเปลี่ยนแปลง อาการแย่ลงนะคะระหว่างที่รอตรวจ ระยะเวลาในการรอตรวจบางคนนานถึง 3 ชั่วโมงซึ่งค่าเฉลี่ยที่เราเก็บเนี้ย คือ รอตรวจนานถึง 2 ชั่วโมงกับ 2 นาที่ |
พิธีกร | ขั้นตอนกิจกรรมในการที่เราดำเนินการมีขั้นตอนยังไงบ้างครับ |
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
|
เราก็ลงไปหาสาเหตุว่าทำไม่คนไข้ประเภทเนี้ยถึงรอตรวจนาน ซึ่งเราพบว่าเมื่อก่อนนี้แบบฟอร์มใบคัดกรองมีหลายแบบมาก และไม่มีการระบุ ESI Level เราก็เลยทำใบคัดกรองขึ้นมาใหม่มีการระบุ ESI Level อย่างชัดเจนทำให้เราทราบว่าคนไข้คนนี้คะอยู่ใน ESI Level ไหน ต้องการความเร่งด่วนในการดูแลมากน้อยแค่ไหน แล้วก็ต้องใช้ทรัพยากรในการดูแลเนี้ยมากน้อยแค่ไหน พร้อมกับการสื่อสารก็คือว่า เพิ่มตัวติดกระดาษมีเหลือง คือ ESI Level เนี้ย เออเจนคือสีเหลือง เซมิทเออเจนคือสีเขียว แล้วก็นอลเออเจนคือสีขาว เป็นสัญลักษณ์ visual management ทำให้เจ้าหน้าที่ของบัตรทราบว่าคนไข้ที่มีกระดาษสีเหลืองติดอยู่เนี้ย เป็นคนไข้ระดับเออเจนต้องได้รับการลงทะเบียนก่อน เมื่อคนไข้ถูกส่งขึ้นไปที่ห้องตรวจนอกเวลาเนี้ยเจ้าหน้าที่ที่ห้องตรวจก็จะทราบว่าคนไข้ประเภทเนี้ยคะต้องได้รับการซักประวัติ แล้วก็ต้องได้รับการพบแพทย์ภายใน 60 นาที เรามีการประสานงานกับห้องบัตร เรื่องการติดกระดาษสีเหลืองนี้ เพื่อให้ห้องบัตรทราบ แล้วก็ประสานงานกับฝ่ายไอที เวลาที่คนไข้ถูกลงทะเบียนจากห้องบัตรจะไปขึ้นในหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ห้องตรวจ |
พิธีกร | คือไม่ได้ติดสติกเกอร์ล่ะ คือสติกเกอร์สีก็จะมาอยู่ในระบบ |
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
|
ใช่คะในระบบจะเป็นสีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเรามีการสื่อสารกับแพทย์ว่าถ้าคนไข้ ESI ที่เป็น Level เออเจนเนี้ยให้คุณหมอเรียกตรวจก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั่นคนไข้ลำดับที่ 1,2,3,4,5 เนี้ย คิวจะเป็น UCW เมื่อก่อนนี้คือรันเลยคะ 1-100 ก็ UCW ค่ะเพราะฉะนั่นคนไข้เออเจนก็จะร่วมกับคนไข้เซมิทเออเจนและนอลเออเจน เราก็เลยคิดขึ้นมาว่าจะทำยังไงให้คนไข้ประเภทเออเจนเนี้ยได้รับการตรวจโดยที่ไม่เกิดคอนฟิคระหว่างคนไข้คนอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย เราก็เลยคิดเป็น FQ ขึ้นมา เป็นฟาสเทคสำหรับคนไข้ประเภทเออเจน |
พิธีกร | แล้วการประเมินผลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างครับ |
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
|
การประเมินผลก็คือระยะเวลาในการรอคอยพบแพทย์จากเดิม 122 นาทีเนี้ยคะลดลงเหลือ 63 นาที ซึ่งมันลดลงเป็นครึ่งเลยนะคะ ทำให้คนไข้ประเภทเออเจนเนี้ยได้รับการตรวจแล้วก็ได้รับการเอนเวนอีเกสที่รวดเร็วส่งผลให้คนไข้ประเภทเซมิทเออเจนและนอลเออเจนได้รับการตรวจที่เร็วขึ้นด้วย เนื่องจากว่าคนไข้เออเจนเนี้ยเมื่อมีการตรวจที่เร็วขึ้นคนอื่นๆ ก็จะได้รับการตรวจที่เร็วขึ้น |
พิธีกร | โครงการนี้สร้างคุณค่าเกิดประโยชน์กับใครบ้างครับ |
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร | 1.เลยก็คือคนไข้ที่รับบริการได้รับความปลอดภัย ถ้าคนไข้เออเจนถ้ารอตรวจนานก็อาการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นคนไข้ Level 2 หรือว่ารีซัสสิเดตได้ ต้องส่งคนไข้ลงมาตรวจที่ ER เราก็เพิ่มความปลอดภัยให้กับคนไข้ แล้วก็เพิ่มระดับความพึงพอใจให้กับคนไข้ |
พิธีกร | คุณผู้ชมครับ การเปิดใจยอมรับในการเปลี่ยนแปลงของระบบ การนำระบบใหม่เข้ามาเพื่อพัฒนา นั่นคือปัจจัยและหัวใจที่สำคัญของความสำเร็จในโครงการนี้นะครับ สำหรับวันนี้ ต้องขอขอบคุณ สำหรับข้อมูลนะครับ ขอบคุณครับ |