Value Based Healthcare & Review in Daily Activities

0
2522
Value Based Healthcare & Review in Daily Activities

Value Based Healthcare & Review in Daily Activities

“การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกกระบวนการทำงาน ต้องมีการเปลี่ยนให้ถึง Mental Models ซึ่งเป็นรากฐานส่วนใหญ่ของปัญหา” (รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา)

“การทบทวนเหมือนกระจกส่องดูการทำงานของทีม เพื่อรับรู้ และเรียนรู้เหตุการณ์ที่เป็นปัญหา ค้นหาโอกาสพัฒนา” (กนกรัตน์ แสงอำไพ)

การพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพโดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วย เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การทบทวนในงานประจำ (Review in Daily Activities) เพื่อหาโอกาสพัฒนาปรับเปลี่ยนกระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบที่รวดเร็ว และต่อเนื่อง จัดเป็น Quality Transformation ระดับที่ 1 แต่ปัจจุบันพบว่าทีมสุขภาพยังทำการทบทวนน้อย ล่าช้า ไม่ต่อเนื่อง และไม่สามารถนำผลการทบทวนไปขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเชิงระบบได้ Session นี้ จึงเป็นการบรรยายร่วมกับการ ทำ workshops เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิด และคุณค่าของการทบทวนร่วมกันภายในทีมสุขภาพ โดยการประยุกต์ใช้ Trigger tool & concurrent review ที่อยู่ในการทำงานประจำวัน พร้อมนำผลการทบทวนไปใช้ประโยชน์สู่การเปลี่ยนแปลง (Change) และสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ของหน่วยงาน/ทีมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และเป็นรูปธรรม รวมทั้งร่วมกันวางระบบติดตามการเปลี่ยนแปลง/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนำมาเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability)  ต่อไป

เริ่มต้นด้วยคำถามเกี่ยวกับการทบทวน 5 ข้อ ที่จะกระตุ้นทีมให้เกิดความร่วมมือกันประเมินตนเองสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนางานบริการอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด PDCA (Plan – Do – Check – Act) คำถามดังนี้
1. ขณะนี้ทีมมีการทบทวนอะไร
2. ทำไมถึงเลือกทบทวนเรื่องนี้
3. ทบทวนอย่างไร
4. กระบวนการทบทวนดีหรือไม่ รู้ได้อย่างไรว่าดี
5. ทีมสามารถจะทำให้ดีขึ้นอีกได้อย่างไร

การทบทวนที่พึงประสงค์:
– มีการทบทวนที่ครอบคลุมปัญหาสำคัญ และนำสู่การปรับปรุงระบบงาน
– มีการทบทวนที่บูรณาการเข้าเป็นกิจกรรมประจำของหน่วยงาน มีการติดตามการปฏิบัติและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
– มีวัฒนธรรมของการทบทวนการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งมีระบบ Concurrent monitoring

ทั้งนี้เนื่องจากการทบทวนเหมือนกระจกส่องดูการทำงานของทีม เพื่อหาโอกาสพัฒนา รับรู้และเรียนรู้เหตุการณ์ที่เป็นปัญหา สู่การประสานความร่วมมือกับทีมที่เกี่ยวข้องปรับเปลี่ยนกระบวนการดูแลผู้ป่วยให้ผลลัพธ์เป็นไปตามความต้องการ แต่จากประสบการณ์การเยี่ยมสำรวจที่ผ่านมา พบปัญหาการทบทวนส่วนใหญ่เป็นแบบครั้งคราว ไม่ต่อเนื่อง ทำให้ไม่ไวพอที่จะดักจับปัญหาเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนา หลายโรงพยาบาลทบทวนเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรง เช่น ผู้ป่วยเสียชีวิต การทบทวนไม่ครอบคลุมปัญหาสำคัญ เช่น ทบทวนการส่งต่อ ทบทวนโดยผู้ชำนาญกว่า สำหรับการทบทวนโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นการตรวจสอบการใช้ Guideline ซึ่งจะได้ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ทำหรือไม่ทำตาม Guideline ขาดข้อมูลเชิงคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยแต่ละรายว่าเพียงพอ เหมาะสมหรือไม่ ผลลัพธ์เป็นอย่างไร นอกจากนี้การทบทวนยังทำให้เกิดความเครียด ความขัดแย้ง เนื่องจากมุ่งค้นหาความบกพร่อง  ที่สำคัญไม่ได้นำข้อมูลผลการทบทวนมาใช้ประโยชน์สำหรับการวางระบบหรือขยายผลปรับมาตรการให้รัดกุมเพิ่มขึ้น สุดท้ายขาดมุมมองการแก้ปัญหาเชิงระบบโดยทีมสหสาขาวิชาชีพหรือทีมที่เกี่ยวข้อง จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นทำให้ทีมต้องปรับกระบวนการทบทวนให้ง่าย ใช้เวลาไม่มาก ทำได้ในงานประจำ สร้างคุณค่าโดยนำผลการทบทวนไปใช้ประโยชน์ในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาระบบงาน จะทำให้ผู้ทำการทบทวนมีความสุข สนุกกับการทบทวน ความต่อเนื่อง และยั่งยืนของการทบทวนจึงจะเกิดขึ้น

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Value Based Healthcare & Review in Daily Activities

ถอดบทเรียน กันยารัตน์ ม้าวิไล

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม) โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

Photo by Ali Yahya on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here