Diversity ไม่ได้มองเฉพาะเรื่อง Gen
แต่ Gen เป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลาย HRM ที่ดี
คือ HR ที่สามารถทำความหลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
HR Challenges ในงานทรัพยากรมนุษย์ ในปี ค.ศ.2024 มีทั้งเรื่องการวางแผนกำลังคนให้เพียงพอ มีคุณภาพ และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงมากพอที่จะปฏิบัติงาน การบริหารจัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ท้าทายองค์การที่บุคลากรมีความแตกต่างกันในหลากหลายมิติ ผู้บริหารจะรับมือกับเรื่อง “คน” ที่มีความหลากหลายให้ได้
อ.มนูญ สรรค์คุณากร (คณะอนุกรรมการบุคคล สรพ.) กลยุทธ์ทางด้านการบริหารบุคคล ที่ต้องจัดการให้ Align ไปตามกลยุทธ์ขององค์กร
- Product Quality and Services ผลผลิตที่มีคุณภาพและการบริการที่ดี
- Productivity ผลผลิต ผลงานที่เพิ่มขึ้น คนที่อยู่ในองค์กรจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สวัสดิการ ฯลฯ ตามมาจะต้องมีแผนตอบให้ผู้บริหารทราบว่าจะมีผลผลิตเพิ่มอย่างไร
- Innovation ต้องมีนวัตกรรม ในกลุ่มสนับสนุนต้องมีนวัตกรรมสร้างสรรค์ในงาน เพื่อลดความผิดพลาด ลดเวลารอคอย ทำงานให้ทันเวลา ลดขั้นตอนในการทำงาน เพิ่มคงามพึงพอใจของลูกค้า (ทั้งภายในและภายนอกหรือผู้รับผลงานต่อไป)
- Cost Reduction สามารถลดต้นทุนได้
Diversity more than Age มากกว่าเรื่องอายุ ยังมีความหลากหลายอื่นๆ มีผลต่อคนทำงาน ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความคงอยู่ (Retension rate) ต้องมีการปรับ เรื่อง การจ่ายโบนัส วันพักร้อน และ CSR (การลาไปทำงานเพื่อสังคม)
Retention Programe มีผลต่อการคงอยู่ใน Gen Y เมื่อมีปรับสวัสดิการ หรือรูปแบบการทำงานก็ส่งผลให้อัตราการคงอยู่นานขึ้น
การทำความเข้าในบุคลากรขององค์กรที่มีความหลากหลายในช่วงวัย จะทำให้สามารถบริหารจัดการบุคลากรได้เป็นอย่างดี ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายสิ่ง เช่น อายุ ตำแหน่งงาน อายุงาน HR เองต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดึงบุคลากรให้คงอยู่ มีการปรับระบบงานรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทันการเก้าวของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง HR ในองค์กรที่ที่ไม่ปรับตัวจะตามคนอื่นไม่ทัน ไม่สามารถดึงคนเก่งให้ร่วมทำงานได้
Diversity vs. Inclusion
HRM ที่ดี คือ HR ที่สามารถทำความหลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร แนวคิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร
Agile และการบริหารงานแบบ Project Based สามารถช่วยให้การทำงานรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง ใช้บุคลากรน้อยลง
ความสำเร็จในการบริหารความหลากหลาย ต้องมีความมุ่งมั่น เปิดใจ ผู้ใหญ่ต้องรับฟัง จากผู้น้อย ทำความเข้าใจเคารพในความเป็นตัวบุคคล เชื่อมั่นในศักยภาพ มีความจริงใจ
รศ.ดร.อรนุช พฤฒิพิบูลธรรม (NIDA) ผลกระทบของเทคโนโลยี AI มีผลต่ออาชีพและความเป็นอยู่ บางอาชีพที่เป็น Hard Skill กำลังจะหายไปถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี เครื่องจักร หุ่นยนต์ AI ในขณะที่บางอาชีพที่ต้องใช้ Soft Skill หลายอาชีพกำลังเป็นที่สนใจ โดยที่ AI ไม่สามารถทดแทนได้ และโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและมีผลทางด้านจิตใจ เช่น ซึมเศร้า โรคเครียด สามารถทดแทนได้ และโรคใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและมีผลทางด้านจิตใจ เช่น ซึมเศร้า โรคเครียด
ทาง NIDA การทำการทบทวนเครื่องมือในการสร้างความสุขของบุคลากร พบว่ามี happy 8 แต่ใน Happy 8
ยังขาด happy work ในเมื่อคนทำงานยังไม่มีความสุขในงานที่ทำ จะเกิดความสุของค์รวมไม่ได้ จึงมีการพัฒนา
เป็นเครื่องมือ Organization Well-being ประกอบด้วย
– ด้านร่างกาย ความแข็งแรงของร่างกาย โรค ปัญหาสุขภาพ การออกกำลัง
– ด้านการเงิน เป็นปัญหาใหญ่ของทุกๆ องค์กร ความเพียงพอ พอใช้ หนี้สิน
– ด้านสังคมและชุมชนสัมพันธ์ การสร้างความสัมพันธ์กับสังคม ที่ทำงาน และบุคคลอื่น
– ด้านอาชีพ วิชาชีพ ความก้าวหน้าในงาน คามพึงพอใจ ค่าตอบแทน
– ด้านจิตใจและอารมณ์ สุขภาพใจ สุขภาพจิต การผ่อนคลาย ความเครียดออกแบบงานวิจัย โดยใช้ 9cell
ในการวัดความผาสุกของบุคลากร ตามปัจจัยต่าง ๆ
โดยวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหน่วยงานควรกำหนดตั้งเป้าดูแลบุคลากรในองค์กรก่อนให้เกิดความอยู่ดีมีสุขของบุคคล
ในอเมริกาพบว่าปัจจัยที่สำคัญในการมีชีวิต คือ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ว่าสามารถจัดการได้หรือไม่ Employee Experience เป็นกระแส ที่คิดว่าทำอย่างไรให้คนมาทำงานกับองค์กรมีสภาพแวดล้อมที่ดี การสร้างวัฒนธรรมองค์กร จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล มีการบรรจุใน Performance agreement เรื่องสุขภาพด้วย
การอยู่ดีสุข ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พนักงานมีความสุข
ลดความกดดัน ประสิทธิภาพในงานก็จะเกิดขึ้น
ผู้ถอดบทเรียน นายพีรพงศ์ ตั้งจิตเจริญ
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปทุมธานี